dc.description.abstract |
ทำการสำรวจการแพร่กระจายและความชุกชุมของแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์หน้าดินในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ. ระยอง เดือนมีนาคม (ฤดูแล้ง) และเดือนกันยายน (ฤดูฝน) ปี 2550 พบแพลงก์ตอนพืช 2
ดิวิชัน (Division) ได้แก่ Cyanophyta (สาหร่ายสีเขียมแกมน้ำเงิน) และ Chromonphyta (ไดอะตอม, ไดโนแฟลกเจลเลต และซิลิโคแฟลกเจลเลต) 78 สกุล ประกอบด้วย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน 3 สกุล ไดอะตอม 62 สกุล ไดโนแฟลกเจลเลต 11 สกุล และซิลิโคแฟลกเจลเลต 11 สกุล และวิลิโคแฟลกเจลเลต 1 สกุล โดยไดอะตอมมีความหนาแน่น และการแพร่กระจายสูงมากกว่าแพลงก์ตอนพืชกลุ่มอื่น ๆ ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝนสำหรับฤดูแล้งพบ
ไดอะตอมสกุล Thalassionema มีความหนาแน่นสูงสุด ส่วนไดอะแกรมที่พบทุกสถานีที่ทำการศึกษา ได้แก่ สกุล Amphora, Chaetoceros, Diploneis, Guinardia, Navicula, Nitzschia, Odontella, Pleurosigma และ Thalassionema ส่วนฤดูฝนองค์ประกอบของไดอะตอมมีการเปลี่ยนแปลงไดอะตอมสกุล Chaetoceros มีความหนาแน่นสูงสุด ขณะที่ไดอะตอมที่พบทุกสถานีที่ทำการศึกษา ได้แก่สกุล Bacteriastrum, Chaetoceros และ Thalassionema
สำหรับแพลงก์ตอนสัตว์ พบทั้งสิ้น 13 ไฟลัม 46 กลุ่ม ในฤดูแล้งบริเวณนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด พบกลุ่มของแพลงก์ตอนสัตว์ มีจำนวนตัวรวมทั้งสิ้น 2.10x10 6 และ 2.76x10 6 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ในฤดูฝนบริเวณนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด พบกลุ่มของแพลงก์ตอนสัตว์มีจำนวนตัวรวมทั้งสิ้น 1.52x10 6 และ 1.21x10 6 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ โคพีพอดเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ที่พบชุกชุมมากที่สุดทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน โดยชนิดที่ชุกชุมในช่วงที่ศึกษาคือ Paracalanus crassirostris และ Oithona simplex
ส่วนสัตว์ทะเลหน้าดินพบทั้งสิ้น 5 ไฟลัม ได้แก่ Annelida, Arthropoda, Mollusca, Echinodermata และ Sipunculida โดยมีสัดส่วนสัตว์ทะเลหน้าดินที่พบเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้คือ ไส้เดือนทะเล 53.46%, Mollusca 28.07%, Arthropoda 11.92%, Echinodermata 6.34%, และ Sipunculida 0.19% สัตว์ทะเลหน้าดินที่พบเสมอทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน ได้แก่ ไส้เดือนทะเล โดยเฉพาะวงศ์ Capitellidae, Onuphidae รองลงมาคือ ไส้เดือนทะเลวงศ์ Ophelliidae, ปูเสฉวนวงศ์ Diogenidae หอยเจดีย์วงศ์ Cerithiidae และหอยฝาคู่วงศ์ Tellinidae ตามลำดับ ความหนาแน่นเฉลี่ยของสัตว์ทะเลหน้าดินทั้งหมดในรอบปีมีค่าเท่ากับ 2.67+-11.72 ตัว/ตารางเมตร โดยฤดูแล้งมีความหนาแน่นของสัตว์ทะเลหน้าดินสูงกว่าฤดูฝน มวลชีวภาพเฉลี่ยรวมของสัตว์ทะเลหน้าดินมีค่าเท่ากับ 0.525 กรัม/ตารางเมตร
ทำการศึกษาองค์ประกอบชนิดของอาหารในกระเพาะของปลาเศรษฐกิจและปลาสวยงาม จำนวน 12 ชนิด ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ปลาเศรษฐกิจ ได้แก่ ปลาสาก ทรายขาว ทรายแดง เก๋า ข้างเหลืองดอกหมาก ดอกไม้กระโดงและปลาหน้าดิน จากการศึกษาพบว่า ปลาส่วนใหญ่มีลักษณะการกินอาหารเป็นปลาที่ที่กินทั้งพืช และสัตว์ และกัดแทะกินสัตว์หน้าดินเป็นอาหาร (omnivore) โดยพบแพลงก์ตอนพืช กลุ่มสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวไดอะตอม และไดโนแฟลกเจลเลต แพลงก์ตอนสัตว์ ได้แก่ Lucifer sp., Foraminifera, Copepod, Nematode, Tintinopsis sp., ตัวอ่อนหอยสองฝา ตัวอ่อนหอยฝาเดียว ลูกกุ้ง ลูกปลา กุ้ง เพรียงหินระยะ cyprid ไมซิด หมึกวัยอ่อน สัตว์หน้ากินที่พบคือ ไส้เดือนทะเล ฟองน้ำ ปลิงทะเลพวกปลิงสร้อยไข่มุกเป็นชนิดเด่น รองลงมา ได้แก่ เม่นทะเล สัตว์กลุ่มหอยในสกุล Cutellus sp. หอยในวงศ์ Mactridae ตามลำดับ |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
The abundance and distribution of phytoplankton, zooplankton and benthos in the area of Leam Chabang Industrial Estate and Mapthaput Industrial Estate in march (Dry season) and September (Rainy season) 2007 were investigated. For phytoplankton, the results showed that 2 division of phytoplankton including Cyanophyta and Chromophyta (Diatom, Dinoflagellates and Silicoflagellates) were found. Thalassionema was the most density species and amphora, Chaetoceros, Diploneis, Guinardia, Navicula, Nitzschia, Odontella, Pleurosigma and Thalassionema were found all the station in dry season but in rainy season, the composition of phytoplankton changed by Chaetoceros was the most density species and Bacteriastrum, Chaetoceros and Thalassionema were found all the stations.
Forty six groups of 13 phyla of zooplankton were found in the study area. The density of zooplankton in Laem Chabang Industrial Estate and Mapthaput Industrial Estate in dry season were 2.10x10 6 and 2.76x10 6 undividual/m3 respectively and in rainy season, 1.52x10 6 and 1,21x10 6 individual/m3 respectively. Copepoda, Paracalanus crassirostris and Oithona simplex were the most abundant zooplankton both dry and rainy season.
The taxonomic classification of benthos 5 Phyla were Annelida, Arthropoda, Mollusea, Echinodermata and Sipunculida. The composition of benthos in the study areas were Annelida 53.46%, Mollusca 28.07%, Arthropoda 11.92%, Echinodermata 6.34% Sipunculida 0.19% respectively. The most common species found both dry and rainy season were family Capitellidae and Onuphidae of Polychaeta, followed by Ophelliidae, hermit crab (F. Diogenidae), Cerithiidae (Gastropoda) and Tellinidae (bivalvia) respectively. The average densities of macrobenthic fauna were 2.67 +-11.72 individuals/m2 and dry season had more density than that raining season. The average biomass was 0.525 gram/m2.
The stomach content of 12 species of economic and ornamental fishes from both Laem Chabang Industrial Estate and Mapthaput Industrial Estate was also investigated. The economic fishes were namely barracuda, monocle bream, threadfin bream, grouper, yellow stripe trevally, deep body mojarra, whipfin mojarra, and silver sillago. The ornamcntal fish were namely, false trevally, goat fish and hairtail, All fishes were collected by otter trawl fishing boat. The results showed all investigated fishes were omnivorous fish. Three groups of phytoplankton were found blue green algae, diatom and dinoflagellate. while zooplankton namelt, Lucifer sp., Foraminifera, Copepod, Nematode, Tintinopsis sp., Bivalvia larva, Gastropod larva, shrimp larvae, fish larvae, immature shrimp, barnacle larvae, and immature squid were found. The benthos namely polycheata, sponges, synatid sea cucumber were dominantly in stomach of collected fishes, followed by sea urchin, bivalvia (Cutellus sp.) and bivalvia (Mactridae) were found respectively. |
en |