DSpace Repository

การพัฒนาเทคนิคแบบไม่ทำลายตัวอย่างสำหรับตรวจสอบและจำแนกไข่มุกและอัญมณีเลียนแบบไข่มุกโดยใช้แสงในช่วงอินฟราเรด วิสิเบิล และอัลตราไวโอเล็ต

Show simple item record

dc.contributor.author พิมพ์ทอง ทองนพคุณ th
dc.contributor.author สนอง เอกสิทธิ์ th
dc.contributor.author อรุณี เทอดเทพพิทักษ์ th
dc.contributor.author ทวีศักดิ์ จันทร์ดวง th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:30Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:30Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/372
dc.description.abstract การตรวจวิเคราะห์อัญมณีหรือจำแนกชนิดอัญมณีเป็นปัญหาต่อเนื่องที่พบในอุตสาหกรรมอัญมณีจนถึงปัจจุบัน ไข่มุกเป็นหนึ่งในอัญมณีอินทรีย์ที่ได้รับความนิยมซึ่งมีการปลอมแปลง และปรับปรุงคุณภาพออกมาจำหน่สยในตลาดอัญมณีจำนวนมาก ดังนั้นการตรวจสอบและจำแนกไข่มุกจึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชสาญเฉพาะทาง การวิเคราะห์ไข่มุกด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีความถูกต้องแม่นยำจึงเป็นสิ่งจำเป็น โครงงงานวิจัยนำเสนอการตรวจสอบไข่มุกด้วยเทคนิคสเปกโทรโกปีเชิงโมเลกุล ได้แก่ เทคนิคอินฟราเรดสเปกโทรโกปี รามานสเปกโทรสโกปี และยูวีวิสซิเบิลสเปกโทรสโกปี ข้อมูลที่ได้เป็นสเปกตรัมซึ่งแสดงความสัมพันธ์โดยตรงกับโครงสร้าง และองค์ประกอบทางเคมีของไข่มุกแต่ละชนิด จึงสามารถนำไปใช้ในการจำแนกไข่มุกธรรมชาติ ไข่มุกปลอม และไข่มุกที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพได้ และไข่มุกที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ นอกจากการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเพิ่มเติม โดยทำการปรับปรุงคุณภาพไข่มุกด้วยวิธีการย้มด้วยสารละลายเงินและคอปเปอร์เพื่อให้ได้สีไข่มุกที่หลากหลาย ได้แก่ ไข่มุกสีน้ำตาล สีเทาเงิน สีเหลืองทองและสีฟ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรรมการย้อมไข่มุก และเก็บข้อมูลสเปกตรัม ของไข่มุกชนิดนี้เป็นฐานข้อมูลเปรียบเทียบสเปกตรัมของไข่มุกที่มีจำหน่ายเชิงพาณิชย์ จากผลการทดลองย้อมไข่มุกพบว่าไข่มุกสีน้ำตาล สีเทาเงิน และสีเหลืองทองให้สีสวยงาม ยังคงความวาวของไข่มุกอยู่ และคณะผู้วิจัยได้ทำการยื่นจดอนุสิทธิบัตร แต่ไข่มุกสีฟ้าให้สีที่ไม่คงทน หลุดร่อนง่าย ผิวไข่มุกไม่เหลือความวาว จึงไม่เหมาะสมในการนำมาผลิตไข่มุกย้อม สีของไข่มุกทุกกรรมวิธีการย้อมขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารละลายที่ใช้ย้อม ระยะเวลาในการย้มและลักษณะพื้นผิวไข่มุกที่นำมาย้อม จากผลงานวิจัยดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้จัดทำฐานข้อมูลสเปกตรัมไข่มุกที่วิเคราะห์ด้วยเทคนิคสเปกโทรสโกปีเชิงโมเลกุลทั้ง 3 เทคนิค รวมทั้งได้สร้างฐานข้อมูลของอัญมณีชนิดอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย รวมไปถึงการประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมอัญมณีต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี th_TH
dc.subject การวิเคราะห์สเป็กตรัม th_TH
dc.subject รามานสเปกโทรสโกปี th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.subject อัญมณี - - การวิเคราะห์ th_TH
dc.subject ไข่มุก - - การจำแนก th_TH
dc.title การพัฒนาเทคนิคแบบไม่ทำลายตัวอย่างสำหรับตรวจสอบและจำแนกไข่มุกและอัญมณีเลียนแบบไข่มุกโดยใช้แสงในช่วงอินฟราเรด วิสิเบิล และอัลตราไวโอเล็ต th_TH
dc.title.alternative Development of nondestructive characterization techniques for differentiation between pearl and imitation pearl using infrared, visible and ultraviolet radiations en
dc.type Research th_TH
dc.year 2552


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account