Abstract:
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา (descriptive research) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสุข ปัจจัยที่มีผลต่อความสุข และวิธีการที่นิสิตใช้ในการจัดการเมื่อไม่มีความสุข และวิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นปัญหาต่อความสุขในการเรียนของนิสิตคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตคณะเวชศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 813 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามดัชนีชี้วัดความสุขของคนไทยและปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการเรียน โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 และ 0.72 วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนด้วย One way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความสุขของนิสิตคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า ความสุขอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.72 (.272, .290) ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านปัจจัยสนับสนุน มีความสุขอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.93 (.480) และนิสิตแต่ละชั้นปีมีความสุขแตกต่างกัน นิสิตชั้นปีที่ 1 มีความสุขมากที่สุด และนิสิตชั้นปีที่ 2 มีความสุขน้อยที่สุด ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนกับชั้นปีที่ศึกษาของนิสิตมีความแตกต่างกัน (p <.01) ด้านปัจจัยสนับสนุน และด้านได้รับการยอมรับมีผลต่อแรงจูงใจในการเรียนรู้ของนิสิตที่แตกต่างกัน (p < .01) วิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นปัญหาต่อความสุขในการเรียน นิสิตกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน (p < .01) วิเคราะห์สถ่นการณ์ที่เป้นปัญหาต่อความสุขในการเรียน นิสิตกลุ่มตัวอย่างที่เข้าโครงการ ก่อนเข้าโครงการมีระดับแรงจูงใจส่วนมากอยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับร้อยละ 72 หลังเข้าโครงการนิสิตกลุ่มตัวอย่่าง มีแรงจูงใจในระดับสูง เท่ากับร้อยละ 87 เมื่อนิสิตกลุ่มตัวอย่างได้รับความรู้และเข้าฝึกทักษะด้านการสรา้งความสุขด้วยมือเรา ทำให้เกิดความมั่นใจในการสร้างแรงจูงใจในการสร้างความสุขด้วยตนเองมากขึ้น ข้อเสนอแนะ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาในการเรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายของการจัดการศึกษา คือการสร้างคนที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และความรู้ที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข