Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินศักยภาพการบริการของระบบนิเวศของสวนทุเรียนประยุกต์
ภูมิสารสนเทศในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี โดยบูรณาการสำรวจข้อมูลในภาคสนามร่วมกับข้อมูลสำรวจระยะไกลอาศัยข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศจากหุ่นยนต์อากาศยานเล็กขนาดเล็ก (รายละเอียด 7 เซนติเมตร) ช่วงคลื่นต่ำมองเห็น และภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinel 2 (รายละเอียด 10 เมตร) ในช่วงคลื่นต่ำมองเห็นและอินฟาเรดใกล้ ขั้นตอนแรกได้จำแนกพื้นที่สวนทุเรียนด้วยวิธีการจำแนกเชิงวัตถุแบบสร้างเงื่อนไข ซึ่งใช้ค่าดัชนีพืชพรรณ NDVI เป็นหลัก และใช้มูลภาคสนามและภาพถ่ายทางอากาศเป็นพื้นที่นำร่อง โดยแบ่งสวนทุเรียนเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สวนทุเรียนเชิงเดี่ยว และสวนทุเรียนเชิงผสมซึ่งประกอบไปด้วย ลำไย ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ในสัดส่วนร้อยละ 33, 32, 21, 9 และ 5 ตำบลลำดับ ขั้นตอนที่สองทำการสำรวจภาคสนามโดยใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินมูลค่าการบริการของระบบนิเวศ ได้แก่ ผลผลิตของทุเรียน ไม้ทุเรียน การท่องเที่ยว การกักเก็บคาร์บอน และมูลค่าสัตว์ในเชิงเศรษฐกิจภายในสวนทุเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1. สวนทุเรียนแบบเชิงเดี่ยวมีมูลค่าการบริหารระบบนิเวศประมาณ 77,056 บาท/ไร่ ในขณะที่สวนแบบผสมผสาน มีมูลค่าประมาณ 368,717 บาท/ไร่ 2. มูลค่า
การบริการของระบบนิเวศทั้งจังหวัดจันทบุรี โดยจำแนกพื้นที่สวนทุเรียนในปี พ.ศ. 2560 ด้วยเทคนิคการสำรวจระยะไกล พบว่ามีพื้นที่ปลูกทุเรียนโดยรวมประมาณ 145,641 ไร่ คิดเป็นมูลค่ารวมของการ บริการระบบนิเวศประมาณ 29,240 x 106 บาท ของทั้งพื้นที่ แบ่งเป็นทุเรียนแบบเชิงเดี่ยวประมาณ 83,875 ไร่ คิดเป็นมูลค่าทั้งหมดประมำณ 6,463 x 106 บาท และสวนปลูกทุเรียนเชิงผสมประมาณ 61,766 ไร่ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 22,777 x 106 บำท ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพื้นที่สวนทุเรียนเชิงผสมมี มูลค่ามากกว่าถึง 5 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับสวนทุเรียนแบบเชิงเดี่ยว อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการจำแนกพื้นที่สวนทุเรียนด้วยเทคนิคการสำรวจระยะไกลจะมีค่าความถูกต้องในการแปลผลเฉลี่ยร้อยละ 88.7 และมีความสอดคล้องกับข้อมูลภาคสนามในระดับดี (Kappa = 77.4%) แต่ก็มีข้อจำกัด เนื่องจากใช้กาวเทียมรายละเอียดปานกลาง ทำให้ความแม่นยำในการจำแนกข้อมูลสวนทุเรียนลดลง อาทิ ขนาดต้นทุเรียน ชนิดพันธ์ อายุ ความหนาแน่น เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีความเข้มข้นในการตรวจตรวจสอบข้อมูลภาคสนามเป็นอยน่างมาก ในการวิจัยครั้งต่อไปจะดำเนินการปรับปรุงโดยทดสอบ ข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศรายละเอียดสูงจากหุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็กทั้งหมดเพื่อลด ข้อจำกัดดังกล่าว