Abstract:
โรคนิ่วในไตเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในหลายประเทศทั่วโลก สามารถเป็นซ้ำได้ นิ่วในไตเกิดจากการตกผลึกของแคลเซียมไอออนกับออกซาเลตไอออนบริเวณท่อไตส่วนปลาย ตกผลึกซ้ำ ๆ มี ขนาดใหญ่ขึ้น (Growth) มีการเกาะเกี่ยว (Aggregation) และเกาะจับ (Adhesion) กับเซลล์เยื่อบุท่อไต จน มีขนาดใหญ่ขวางกั้นทางเดินปัสสาวะทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะติดขัดและแสดงอาการ ชนิดของนิ่วที่พบมาก ที่สุดในผู้ป่วยร้อยละ 80 คือ นิ่วแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate, CaOx) การเกาะจับของผลึกกับ เซลล์เยื่อบุท่อไตเป็นขั้นตอนวิกฤต ผลึกถูกนำเข้าสู่เซลล์เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบ มีการสร้างอนุมูลอิสระจำนวนมาก เซลล์เยื่อบุท่อไตเปลี่ยนแปลง เกิด Oxidative stresses เซลล์เสียหายและ apoptosis ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญและเป็นอาหารหลักของคนไทย มีหลายชนิดโดยเฉพาะกลุ่มเมล็ดข้าว ที่มีสี เช่น ข้าวเหนียวดำ มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าข้าวขาว ได้แก่ แอนโทไซยานิน สารประกอบฟีนอล เป็นต้น ดังนั้นจึงน่าสนใจอย่างยิ่งว่า สารสกัดจากข้าวเหนียวดำอาจจะสามารถยับยั้ง หรือป้องกันกลไกการเกิดนิ่วในไตได้ โดยเฉพาะการลดภาวะ oxidative stresses อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาสารสกัดจากข้าวเหนียวดำในการยับยั้งการเกิดโรคนิ่วในไตมาก่อน การศึกษาในครั้งนี้นำข้าว กล้องข้าวเหนียวดำและแกลบ สกัดด้วย 75% เอทานอล นำสารสกัดไปวิเคราะห์ปริมาณแอนโทไซยานิน ปริมาณสารประกอบฟีนอลรวม ทดสอบฤทธิ์
ในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี Ferric reducing antioxidant power assay และความสามารถในการกำจัดอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH method นำสารสกัดไปทดสอบ การยับยั้งการเกิดผลึกนิ่วแบบ in vitro และทดสอบในหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดนิ่วในไตด้วย 0.5% ethylene glycol เปรียบเทียบกับหนูทดลองกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารสกัด เก็บไตทั้งสองข้างนำไปศึกษา การสะสมของผลึกบริเวณท่อไต ศึกษาการแสดงออกของอนุมูลอิสระ 8-OHdG ด้วยวิธี immunofluorescence และ immunoperoxidase ศึกษาการแสดงออกของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระสองตัว คือ catalase และ superoxide dismutase 1 ด้วยวิธี immunoblotting assay ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดที่ได้ของเมล็ดข้าวกล้องข้าวเหนียวดำ คิดเป็นร้อยละ 0.379 มีปริมาณ แอนโทไซยานินเฉลี่ย 23.823±0.863 μg/g rice ปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมเฉลี่ย 0.558±0.022 mg gallic acid/g rice ความสามารถ
ในการรีดิวซ์เหล็กเฉลี่ย 0.416±0.033 mg ascorbic acid/g rice และค่า IC50 ของการทำลายอนุมูลอิสระ DPPH เท่ากับ 0.16 mg/ml ในขณะที่แกลบข้าวเหนียวดำมีร้อยละของสาร สกัดคือ 2.274 มีปริมาณแอนโทไซยานินเฉลี่ย 26.501±4.770 μg/g ปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมเฉลี่ย 5.473±0.760 mg gallic acid/g ความสามารถในการรีดิวซ์เหล็กเฉลี่ย 1.578±0.165 mg ascorbic acid/g และค่า IC50 ของการทำลายอนุมูลอิสระ DPPH เท่ากับ 0.24 mg/ml ผลการทดสอบฤทธิ์การยับยั้ง กลไกการเกิดนิ่ว in vitro พบว่าสารสกัดจากเมล็ดข้าวเหนียวดำมีความสามารถในการลดการเติบโต การ เกาะเกี่ยวของผลึก COM และลดการจับของผลึก COM กับเซลล์ MDCK แบบ dose dependent เมื่อศึกษาเนื้อเยื่อไตของหนูทดลองพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดมีลักษณะของ renal epithelial cells และ หน่วยไตปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับสารสกัดมีความเสียหายของเซลล์ท่อไตและมีการแสดงออก ของอนุมูลอิสระ 8-OHdG หลายตำแหน่ง เมื่อศึกษาการแสดงออกของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่าใน หนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดมีการแสดงออกของ catalase และ SOD1 มากกว่าหนูกลุ่มควบคุม 2.298 และ 2.610 เท่าตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสารสกัดจากแกลบข้าวเหนียวดำต่อน้ำหนักแห้ง 1 กรัม จะมีความสามารถใน การเป็นสาร antioxidant สูงกว่าในสารสกัดจากเมล็ดข้าวเหนียวดำ แต่เมื่อเปรียบเทียบฤทธิ์ของสารสกัด แล้ว
พบว่าสารสกัดจากเมล็ดข้าวเหนียวดำมีความสามารถในการเป็น antioxidant และยับยั้งการเกิดผลึก ได้ดีกว่า การศึกษาในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการศึกษาเพิ่มเติมและอาจนำไปสู่การพัฒนา ผลิตภัณฑ์สุขภาพทางการแพทย์เพื่อเป็นทางเลือกในการนำไปใช้ในการป้องกันการเกิดโรคนิ่วในไต ต่อไปในอนาคต