Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาไมโครอิมัลชันชนิดใหม่ที่มีดีอัลฟาโทโคฟีริลโพลิเอทิลีนไกลคอล
1000 ซัคซิเนท (วิตามินอีทีพีจีเอส) เป็นสารลดแรงตึงผิว เพื่อเพิ่มการดูดซึมของเซเลโคซิบโดยการรับประทานและเพื่อศึกษากลไกการดูดซึมผ่านลําไส้ของไมโครอิมัลชันโดยการวัดค่าทรานส์อิพิเทเลียลอิเลคทริคัลรีซิสแทนท์ (transepithelial electrical resistance, TEER) การศึกษานี้ยังได้ศึกษาปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคไมโครอิมัลชันและลําไส้ในแง่ของกระบวนการปลดปล่อยและการเข้าสู่เนื่อเยื่อโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิดส่องกราดด้วยแสงเลเซอร์ ไมโครอิมัลชันที่เตรียมได้ได้รับการตรวจสอบขนาดอนุภาค ประจุพื้นผิว รูปร่าง การปลดปล่อย การดูดซึมผ่านลําไส้และความเป็นพิษต่อเยื่อบุลําไส้ พบว่าอนุภาคไมโครอิมัลชันที่เตรียมได้มีรูปร่างกลม มีขนาดไม่เกิน 300 นาโนเมตรและมีประจุเป็นกลาง การปลดปล่อยเซเลโคซิบจากไมโครอิมัลชันเป็นจลนศาสตร์อันดับศูนย์ ไมโครอิมัลชันนี้สามารถเพิ่มการดูดซึมของเซเลโคซิบได้อย่างมีนัยสาํคัญ จากการศึกษาโดยกล้องจลุทรรศน์ชนิดส่องกราด
ด้วยแสงเลเซอร์สันนิษฐานว่าอนุภาคไมโครอิมัลชันที่มีตัวยากักเก็บสัมผัสกับเยื่อบุลําไส้ก่อนจะมีการปลดปล่อยตัวยาออกมา ค่า TEER ของเยื่อบุลําไส้ที่ได้รับการทดสอบด้วยไมโครอิมัลชันมีค่าลดลงอย่างมีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับก่อนการทดสอบ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มการแพร่ผ่านตัวยาโดยการขนส่งผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์ (paracellular pathway) การประเมินความเป็นพิษต่อเยื่อบุลําไส้ของไมโครอิมัลชันที่มีเซเลโคซิบพบว่าไม่แตกต่างจากตัวทําละลายที่รับประทานได้ (PEG 400)