dc.contributor.author | ยุวดี รอดจากภัย | |
dc.contributor.author | กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-09-30T08:35:17Z | |
dc.date.available | 2019-09-30T08:35:17Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3676 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เครือข่าย ทางสังคมที่ดูแลผู้สูงอายุ พัฒนาเครือข่าย และประเมินเครือข่ายทางสังคมที่ดูแลผู้สูงอายุ กลุ่ม ตัวอย่างประกอบด้วย ผู้สูงอายุ จำนวน 150 คน และผู้ให้บริการ จำนวน 45 คน ในจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี สระแก้ว และจังหวัดตราด เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ด้วยแบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired Samples t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย การศึกษาและวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมที่ดูแลผู้สูงอายุมีทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน กลุ่มอาสาสมัคร และวัด กิจกรรมที่มีจะมีกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพทั้งกาย จิต สังคม และ จิตวิญญาณ การพัฒนาเครือข่ายทางสังคมที่ดูแลผู้สูงอายุใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ การสนับสนุนทางสังคม และการมีส่วนร่วม เมื่อวัดผลผู้สูงอายุในด้านการรับรู้คุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า คะแนนเฉลี่ยการรับรู้คุณค่าในตนเองและพฤติกรรมสุขภาพระหว่างก่อน การทดลองและหลังการทดลอง พบว่า ดีขึ้น และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และในผู้ให้บริการ การรับรู้คุณค่าในตนเอง และการรับรู้พลังอำนาจ มีคะแนนเฉลี่ยการ รับรู้คุณค่าในตนเอง และการรับรู้พลังอำนาจ ระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง พบว่า ดีขึ้น และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการประเมินเครือข่ายทาง สังคมที่ดูแลผู้สูงอายุ พบว่า กระบวนการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมที่ใช้กระบวนการเสริมสร้าง พลังอำนาจ การสนับสนุนทางสังคม และการมีส่วนร่วม เป็นสิ่งที่ทำให้เครือข่ายเกิดการขยายเพิ่ม จำนวนผู้สูงอายุ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน และทำให้เกิด กิจกรรมที่หลากหลายที่เป็นประโยชน์ การพัฒนาเครือข่ายทางสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ และ ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักง่านคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.title | การพัฒนาเครือข่ายทางสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.title.alternative | Social Network Development for the Elderly care | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | yuvadee@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2562 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research was an action research. Operational Research. The objective was to study and analyze social networks that care for the elderly, Develop network, and assess social networks that care for the elderly. The sample group consisted of 150 elderly people and 45 service providers in Chonburi, Chachoengsao, Chanthaburi, Sa Kaeo and Trat provinces. The instruments of this study composed of interview form and conversation guideline. Analyzing quantitative data with statistics, percentage, mean, standard deviation, Paired Samples t-test and qualitative data analysis with content analysis. The results of the research, social networks that care for the elderly were both government agencies, private groups, volunteers and temple. The activities were physical activities, mental, social and spiritual health. Take care of the elderly using the empowerment process, social support and participation. When measuring the elderly in self-efficacy and health behaviors, it was found that the mean score of self-efficacy and health behaviors during pre-test and post-test showed better and significantly different (p <0.05) and in service providers Selfefficacy and perceived empowerment during the pre-test and post-test , it was found that there was a significant difference (p <0.05). The results of the social network assessment that looked after the elderly found that the social network development process by using empowerment, social support and participation were the causes to increase the number of elderly people exchange knowledge, ideas and experiences to each other and causes a variety of useful activities. The development of social networks in caring for the elderly. Therefore is useful for the elderly and should continue. | th_TH |
dc.keyword | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.keyword | เครือข่ายสังคม | th_TH |