Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการเรียนรู้โดยใชัปัญหา
เป็นฐานในการส่งเสริม ความเข้มแข็งของชุมชนต้นแบบที่ดีในภาคตะวันออก
2) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ ปัญหาเป็นฐานในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนต้นแบบที่ดีในภาคตะวันออก 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ต้นแบบที่ดีในภาคตะวันออก และ 4) กำหนดแนวทางการประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนอื่น ๆ ในภาคตะวันออกและในภาคอื่น ๆ ของประเทศโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research: PAR) ในชุมชนต้นแบบที่ดี 7 แห่งในภาคตะวันออก ประกอบด้วย (1) ชุมชนบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา (2) ชุมชนบ้านทุ่งน้อย อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี (3) ชุมชนบ้านจำรุง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง (4) ชุมชนบ้านโสนน้อย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (5) ชุมชนบ้านดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี (6) ชุมชน บ้านสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และ (7) ชุมชนบ้านห้วงน้ำขาว อำเภอเมือง จังหวัดตราด โดยทำการศึกษาในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) 3 กลุ่มประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้นำชุมชน (2) กลุ่มปราชญ์ชุมชน และ (3) ตัวแทนของกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการจำแนกและการเปรียบเทียบข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 7 ชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนที่ครอบคลุม (1) การรับรู้และตระหนักในความสำคัญของปัญหาร่วมกัน (2) การร่วมกัน ค้นหาสาเหตุของปัญหา (3) การร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา และ (4) ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง โดยมี ปัจจัยความสำเร็จในการนำกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมาใช้ในการส่งเสริมความเข้มแข็งของ ชุมชนที่คล้ายคลึงกัน อาทิ ผู้นำชุมชนมีความเสียสละ ทุ่มเทแรงกายแรงใจ, ชาวบ้านในชุมชนมีความสามัคคี, หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน และมีการส่งเสริมการออมเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนของชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ปัญหาและอุปสรรคในการนำกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมาใช้ในการส่งเสริม ความเข้มแข็งของ 7 ชุมชนมีความแตกต่างกันไป โดยกลุ่มหนึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคในด้านการดำเนินงาน อาทิ ปัญหาการไม่สามารถจัดการกลุ่มที่มีสมาชิกจำนวนมาก และปัญหาการขาดแคลนเยาวชน
และคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมและสืบทอดกิจกรรม เป็นต้น ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคในด้านการจัดการ อาทิ ปัญหาการขาดการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงผู้นำทำให้กระบวนการ ส่งเสริมความเข้มแข็งหยุดชะงัก เป็นต้น