Abstract:
โลหะผสมเงิน-ทองแดง-อะลูมิเนียม (A356) และโลหะผสมเงิน-ทองแดง-อะลูมิเนียม เทียบกับ โลหะเงิน-ทองแดง และ โลหะเงิน-อะลูมิเนียม ประกอบด้วย 93%Ag-6.5%Cu-0.5%Al (A356), 93%Ag-6%Cu-1%Al (A356) และ 93%Ag-5.5%Cu-1.5%Al (A356), 93%Ag-6.5%Cu-0.5%Al, 93%Ag-6%Cu-1%Al และ 93%Ag-5.5%Cu-1.5%Al, 93%Ag-7.0%Cu และ 93%Ag-7.0%Al หล่อด้วยกระบวนการสุญญากาศ หล่อที่อุณหภูมิ 1100C และต่อมาบ่มที่ 300C เป็นเวลา 1 3 6 และ 9 ชั่วโมง ชิ้นงานหลังหล่อและบ่มศึกษาองค์ประกอบเคมีด้วย Inductively couple plasma (ICP) และ ไตเตรชั่น ศึกษาโครงสร้างจุลภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์แสงและกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดพร้อมติดตั้งสเปกโตรมิเตอร์การกระจายตัวพลังงานรังสีเอ็กซ์ (EDS) ทดสอบการคงทนการหมอง แลวัดสีด้วยเครื่องวัดสี วัดความแข็งด้วยเครื่องวัดจุลภาคแบบวิกเกอร์ ทดสอบความต้านทานแรงดึง ด้วยเครื่องทดสอบแรงดึงอเนกประสงค์ ผลการทดลองพบว่าองค์ประกอบทางเคมีหลังหล่อชิ้นงานไม่ ต่่ากว่าโลหะเตรียมก่อนหล่อหลังตรวจสอบด้วย ICP ไตเตรชั่น และ EDS ส่าหรับโครงสร้างชิ้นงาน หลังหล่อมีลักษณะเป็นเดนไดรต์ที่มีเงินเป็นส่วนผสมหลัก และพบเฟสที่มีลักษณะเป็นแท่งสีดำใน ตัวอย่างโลหะเงิน-อะลูมิเนียม หลังบ่มเกรนมีขนาดใหญ่และมีตะกอนขนาดเล็กเกิดขึ้น การทดสอบสี พบว่าโลหะเงินที่ผสมอะลูมิเนียมจะมีสีเทาเมื่อเทียบกับเงินสเตอร์ลิง การเติมอะลูมิเนียมมีผลต่อการเพิ่มความแข็งและหลังจากบ่มมีความแข็งที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับชิ้นงานหลังหล่อ นอกจากนี้การทดสอบความต้านทานแรงดึงแสดงให้เห็นว่าเงินสเตอร์ลิงมีความต้านทานแรงดึงสูงกว่าโลหะเงินที่เติม อะลูมิเนียมในทุกตัวอย่าง หลังจากบ่มค่าความต้านทานแรงดึงสูงขึ้นเมื่อเทียบกับชิ้นงานหลังหล่อ ขณะที่ค่าความยึดจะลดลงหลังจากการบ่มเนื่องจากโลหะมีความแข็งแต่เปราะมากขึ้น