Abstract:
งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการศึกษาสารสกัดจากพืชหายากในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี ได้แก่ หลุมพอทะเล (Intsia bijuga) และพังกาดอกช่อ (Bruguiera hainesii) โดยเลือกศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH, ABTS, FRAP และ Lipid peroxidation (TBARS) หา
องค์ประกอบประกอบทางพฤกษเคมี รวมทั้งศึกษาดูความหลากหลาย
ทางพันธุกรรมด้วยเทคนิค ISSR จากการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่า สารสกัดใบจากพืชทั้ง 2 มีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลได้ดี โดย I. bijuga มีฤทธิ์ ยับยั้งอนุมูลดีกว่า B. hainesii อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ ต่อมาทำทดสอบหาสารพฤกษเคมีเบื้องต้นพบว่า พืชทั้ง 2 มีชนิดมีสารพฤกษเคมี คือ tannins, flavonoids, phenolics, cardiacglycoside, anthaquinone, alkaloid และ coumarins สำหรับการสกัดดีเอ็นเอของ I. bijuga และ B. hainesii มาทำการเพิ่มจำนวนด้วยเทคนิค PCR แล้วพบว่า ดีเอ็นเอของพืชทั้งสองมีขนาดประมาณ 500 bp. จากนั้น PCR product ไปตรวจหาลำดับเบสดีเอ็นเอและนำมาเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลในธนาคาร พันธุกรรมโลก (Genbank) เพื่อยืนยันความเหมือนหรือความแตกต่างของลำดับเบสดีเอ็นเอ พบว่า สารสกัดดี เอ็นเอของ I. bijuga และ B. hainesii นี้มีเปอร์เซ็นต์ความใกล้เคียงเมื่อเทียบกับฐานข้อมูลจากการใช้ โปรแกรม BLAST อยู่ที่ 99% และ 100% ตามลำดับ จึงทำการฝากข้อมูลไว้เผื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุกรรมของสมุนไพรไทย และจากการทดสอบดูความหลากหลายทางพันธุกรรมด้วย ISSR พบว่า ไพรเมอร์ที่ใช้ในการทดลองสามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอระหว่างตำแหน่งไมโครแซททาไลต์ได้แตกต่างกัน จึงสามารถใช้เป็น เครื่องหมายในการอนุรักษ์สายพันธุ์พืชทั้งสองชนิดนี้ได้