Abstract:
ในปัจจุบัน ความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจ SMEs จะขึ้นอยู่กับการใช้หลักการบริหารธุรกิจ และโลจิสติกส์โดยผสมผสานกับการสร้างเอกลักษณ์สินค้าชุมชนในแต่ละพื้นที่โดยจัดให้มีตลาดรองรับ และ
ทำเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยให้แต่ละชุมชนมีผลิตภัณฑ์ดีเด่นอย่างน้อยหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยเป็น ผลิตภัณฑ์ที่อยู่บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณีและใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น ซึ่งถือได้ ว่าเป็นการสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เกิดขึ้น และใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นให้เกิดการพัฒนากระบวนการ เรียนรู้ของชุมชน และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้ได้มาตรฐานตรงกับความต้องการของ ตลาดสากล อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจชุมชนฐานต่างมีความเข้มแข็งต่อไป วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการดำเนินธุรกิจโดยใช้เทคนิคด้านโลจิ สติกส์เข้ามาเป็นเครื่องมือทั้งกิจกรรมโลจิสติกส์ขาเข้าตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ การจัดเก็บวัตถุดิบขาเข้า ตลอดจนถึงกิจกรรมโลจิสติกส์ขาออกตั้งแต่กระบวนการสั่งซื้อสินค้า SMEs ทั้ง จากภายในประเทศและจากต่างประเทศ ตรวจสอบและระบุถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการ ในการจัดซื้อจัดหา การผลิตและการกระจายสินค้าและการจำหน่าย หาวิธีการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลให้กับผู้ประกอบการและ
ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ SMEs ของไทย และหาและกำหนด ยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในอันที่จะสร้างหรือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ การศึกษาครั้งนี้ได้เก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิและจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิซึ่งครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบการ SMEs ชุมชน ประชาชนทั่วไป และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะ ตรวจสอบประเด็นดังกล่าวข้างต้น การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 1,039 ชุดและการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 54 ราย ข้อมูลจะถูกนำมาประมวลและวิเคราะห์โดยใช้ โปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 15.0 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ยังขาด ความรู้เรื่องเทคนิคการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการจัดจำหน่าย เพื่อที่จะช่วยลดต้นทุนรวมและเพื่อคุณภาพในการให้บริการ ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่มีการผลิต และจัดเก็บเป็นจำนวนมากโดยมีการจัดการที่ไม่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพโดยมีการผลิตและเก็บไว้ เป็นเวลานาน ส่งผลให้เพิ่มต้นทุนมากขึ้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการ SMEs ยังประสบปัญหาเรื่องการ ขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากปัญหาการจัดหาวัตถุดิบที่มีจำกัดตาม ธรรมชาติ รวมถึงปัญหาในการจัดจำหน่ายและแหล่งจำหน่ายหลัก หน่วยงานหลักในด้านต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ SMEs ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนควรมีบทบาทในการจัดการผลิตภัณฑ์ SMEs ให้มากขึ้น รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการจัดการโลจิสติกส์และซัพ พลายเชนเพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งยังสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ SMEs ได้อย่างยั่งยืน