DSpace Repository

การปกป้องระบบประสาทของสารสกัดขมิ้นชันสายพันธุ์ภาคตะวันออกของประเทศไทยในแบบจำลองโรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองสัตว์ทดลอง

Show simple item record

dc.contributor.author ปรัชญา แก้วแก่น
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2019-07-23T07:51:23Z
dc.date.available 2019-07-23T07:51:23Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3648
dc.description.abstract โรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองเป็นภาวะหนึ่งที่มีอุบัติการณ์เกิดโรคสูงและส่งผลกระทบต่อ คุณภาพชีวิตของประชาการไทย โรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองสัตว์ทดลองจากการศึกษาที่ผ่านมาที่ รายงานกลไกของอนุมูลอิสระต่อการเกิดพยาธิสภาพของโรคพาร์กินสัน และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดขมิ้นชัน ผู้วิจัยจึงตั้งสมมติฐานว่าสารสกัดขมิ้นชันสายพันธุ์ภาคตะวันออกสามารถมีฤทธิ์ต่อการปกป้องเซล์ ประสาท ตลอดจนการผลต่อการเพิ่มการเรียนรู้และความจำ ในการศึกษานี้ผู้วิจัยจึงได้นำสารสกัดแอลกอฮอล์ของสารสกัดขมิ้นชัน ขนาดต่าง ๆ ได้แก่ 100, 200 และ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวมาป้อนหนูขาว พันธุ์ Wistar เพศผู้น้ำหนักประมาณ 280-320 กรัม จากนั้นนำมาเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะจำลองโรคพาร์กินสัน ด้วยการฉีดสาร 6-OHDA แล้วนำมาประเมินการเปลี่ยนแปลงของอนุมูลอิสระที่พบในเนื้อเยื่อสมองหนูแรท โดยการประเมิน การเปลี่ยนแปลง oxidative stress markers ได้แก่ ปริมาณ Malondialdehyde (MDA) การทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ Superoxide dismutase (SD), Catalase (CAT) และ Glutathione peroxidase (GPx) ในสมองส่วน Cerebral cortex, Striatum และ Hippocampus พบว่าหนู แรท กลุ่มที่ได้รับ สารสกัดขมิ้นชัน มีการทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระที่กล่าวข้างต้นเพิ่มขึ้น และพบการเปลี่ยนแปลงของการลดลงของ MDA ลดลงทุกขนาดของสารสกัด และเมื่อประเมินผลการให้สารสกัดขมิ้นชัน ในการปกป้องสมองพบว่า หนูแรทกลุ่มที่ได้รับสารสกัดขมิ้นชัน ขนาด 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว ความหนาแน่นของเซลล์ประสาทที่รอดชีวิตเพิ่มมากขึ้น ความหนาแน่นของเซลล์ประสาท Bcl-2 เพิ่มมากขึ้น และความหนาแน่นของเซลล์ประสาท Caspase-3 ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดขมิ้นชัน ดังนั้นการวิจัยนี้แสดงถึงกลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดขมิ้นชันในวิถีอะพอพโทซิสได้ อย่างไรก็ตามกลไกการออกฤทธิ์หลักของสารสกัดขมิ้นชันนั้นยังต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ขมิ้นชัน th_TH
dc.subject โรคหลอดเลือดสมอง th_TH
dc.subject โรคสมองเสื่อม th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การปกป้องระบบประสาทของสารสกัดขมิ้นชันสายพันธุ์ภาคตะวันออกของประเทศไทยในแบบจำลองโรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองสัตว์ทดลอง th_TH
dc.title.alternative Neuroprotection of Thai-Eastern Indigenous Curcuma longa L. Extract in Animal Models of Vascular Dementia en
dc.type Research en
dc.author.email pratchaya@buu.ac.th
dc.year 2562
dc.description.abstractalternative Vascular Dementia (VaD) is a condition that has a high incidence of disease and affects the quality of life of Thai people. Central nervous system depressive disorder is Parkinson's disease. Based on a recent study that reported the mechanism of free radicals to pathogenesis of Parkinson's disease, and the antioxidant activity of plant extracts. Researchers have hypothesized that Curcumin extract can increase antioxidant activity. It also affects learning and memory. Therefore, this study focus on alcohols extracted from curcumin. Various doses of 100, 200 and 400 mg / kg body weight were fed to male rats of Wistar, weighing 280-320 grams, and then induced by Middle Cerebral Artery Occlusion (MCAO), the free radicals found in brain tissue. Antioxidant activities include superoxide dismutase (SOD), Catalase (CAT) and glutathione peroxidase (GPx) in the brain. Cerebral cortex, striatum, and hippocampus are found in rat. The group received the Curcumin. The activity of the antioxidant enzyme mentioned above increased. MDA decreased in all doses of DEE. When evaluating the effect of Curcumin on protecting the brain. Grouped rats with 200 mg / kg body weight gain. Increased neuronal density Bcl-2 neuronal density increased and Caspase-3 neurons was decreased compared to untreated group. Therefore, this study demonstrates the mechanism of biological action of Curcumin in apoptosis pathway. However, the main mechanism of Curcumin s still to study further mechanism en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account