DSpace Repository

“มโนรมย์” การปรับภูมิทัศน์สำหรับเมืองท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์

Show simple item record

dc.contributor.author ณรงค์ พลีรักษ์
dc.contributor.author ปริญญา นาคปฐม
dc.contributor.author เยี่ยมพล โชติปัญญาธรรม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยนานาชาติ
dc.date.accessioned 2019-07-21T03:40:25Z
dc.date.available 2019-07-21T03:40:25Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3637
dc.description.abstract มโนรมย์เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและน่าสนใจ มีการขุดพบโบราณสถานและ โบราณวัตถุที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังมีความอุดมสมบูรณ์ สามารถทำเกษตรกรรมและเกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรหลายแห่ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจ รวบรวม และจัดทำแผนที่ฐานทรัพยากรเชิงวัฒนธรรม 2) ประเมินศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว 3) วางแผน การใช้ประโยชน์ที่ดินและออกแบบเมืองท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ 4) สร้างตราสินค้าและกำหนดตำแหน่งทางการตลาดให้กับเมืองมโนรมย์ และ 5) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแผน การพัฒนาเมืองมโนรมย์ให้เป็นเมืองท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ จากการรวบรวมข้อมูลสถานที่สำคัญของเมืองมโนรมย์สามารถจำแนกสถานที่ออกเป็น 2 กลุ่ม หลัก ได้แก่ กลุ่มศาสนสถาน และกลุ่มวิถีเกษตร นำไปสู่การสร้างอัตลักษณ์ของมโนรมย์ นั่นคือ เมือง แห่งพุทธศาสนาและวิถีเกษตร โดยสถานที่ที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้มี 35 แห่ง และจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ประวัติศาสตร์และร่องรอยทางประวัติศาสตร์ 5 แห่ง ศิลปะ หัตถกรรม ประติมากรรม ภาพวาด ปูนปั้น และแกะสลัก 3 แห่ง ศาสนา รวมถึงพิธีกรรมต่าง ๆ ทาง ศาสนา 10 แห่ง และลักษณะงานและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาใช้เฉพาะท้องถิ่น 17 แห่ง จากนั้นจัดทำและเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวให้มีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของเมือง โดยแบ่ง เส้นทางการท่องเที่ยวออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ เส้นทางการท่องเที่ยววัฒนธรรมด้านประวัติศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ ด้านวิถีชีวิตเกษตรกรรมเชิงสร้างสรรค์ และด้านประเพณีเชิงสร้างสรรค์ โดยเส้นทางการท่องเที่ยวนี้ได้นำเทคนิคระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS (Geographic Information System) มาใช้ในการสร้างเส้นทางและนำเสนอในรูปแบบของแผนที่เพื่อให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจใช้เป็นแนวทางและวางแผนการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองมโนรมย์ การใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองมโนรมย์ในปี พ.ศ. 2545 และ 2560 ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ เกษตรกรรม เช่น นาข้าว พืชไร่ พืชสวน และไม้ผล ส่วนพื้นที่อื่น ๆ เช่น ที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้าง และ แหล่งน้ำ ในช่วงเวลานี้พบการเปลี่ยนจากนาข้าวไปเป็นพืชไร่มากที่สุด รองลงมาเป็นการเปลี่ยนแปลง จากไม้ผลเป็นนาข้าว การเปลี่ยนแปลงจากนาข้าวเป็นไม้ผล ในขณะที่ที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ มีการขยายตัวมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 1.22 ส่วนการออกแบบเมืองและการปรับปรุงภูมิทัศน์นั้นมีการกำหนดเป้าหมายของการพัฒนา มโนรมย์ให้เป็นเมืองท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์และแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก การปรับปรุงภูมิทัศน์เส้นทางการท่องเที่ยว 3 รูปแบบ และส่วนที่ 2 เป็นการปรับปรุงภูมิทัศน์รายตำบล โดยทุกตำบลได้มีการนำเสนอรูปแบบในการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สอดคล้องกับแนวทางของการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ตามเป้าหมายของเมืองมโนรมย์ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ th_TH
dc.subject การปรับปรุงภูมิทัศน์ th_TH
dc.subject เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ th_TH
dc.subject สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH
dc.title “มโนรมย์” การปรับภูมิทัศน์สำหรับเมืองท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ th_TH
dc.title.alternative “Manorom” Development of Landscape for Creative Cultural Tourism en
dc.type Research th_TH
dc.author.email narong_p@buu.ac.th
dc.author.email parinyan@go.buu.ac.th
dc.author.email yiampol@yahoo.co.th
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Manorom is the interesting historical city because it has long chronicle founded by many archaeological sites and antiquities. This area is fruitful and abundance with natural resources which leads to farmers’ conglomeration in the area. The objectives of the research aim: to survey, conclude and create a cultural resource map, to evaluate the potential for tourist attractions’ development, to utilize the and design the creative cultural tourism destination, to create the marketing brand and position the marketing strategy for Manorom, and to propose the policy and plan of Manorom development as being as creative cultural tourism city. According to gathering the famous destinations information, the destinations are typically classified into 2 categories: religious destination and agricultural destination. The combination of two categories approaches to Manorom identity creation; there are two lifstyles of Manorom which are religion and agriculture. In addition, the destinations that can be developed to be creative cultural destination consist of 35 destinations and classified into four types: 1) five of history and historical evidence destinations, 2) three of carving, art, sculpture, stucco, and painting destinations, 3) ten of religious and ritual destinations, and 4) seventeen local wisdom innovation destinations. With these 35 destinations, the routes of creative cultural destination are drawn into 3 routes; first, creative historical and cultural route; second, creative agricultural lifestyle; and third, creative festival route. The destinations in each route are pointed with Geographic Information System (GIS) and presented into the map for disseminating to tourists. The land use of Manorom between 2002 and 2017, mostly concerned about agricultural activities such as paddy field, field crop, perennial, and orchard. The rest of the land was used for residence, building, and reservoir. During the period, the change from paddy field to field crop was mostly founded, followed by the change from orchard to paddy field and paddy field to orchard, respectively. The residence and building were expanded and spread wider about 1.22%. For city design and landscape improvement, are targeting to be creative cultural tourism destination and categorized into 2 parts: landscape development based on 3 routes designed, and based on location in each sub-district. However, the landscape development must be harmonized with Monorom creative tourism development goal en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account