DSpace Repository

โครงการออกแบบและพัฒนาตำรับยาใช้ภายนอกจากพืชท้องถิ่น ของประเทศไทยในรูปแบบแผ่นแปะผิวหนังเพื่อลดการอักเสบ

Show simple item record

dc.contributor.author ภัทรวดี ศรีคุณ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-07-18T02:21:45Z
dc.date.available 2019-07-18T02:21:45Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3624
dc.description.abstract เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบที่ได้จากสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อเป็นทางเลือก ในการนำมาพัฒนาตำรับยาต่อไป ชัน (Propolis) จากชันโรงสายพันธุ์ขนเงิน (Tetragonula pegdeni Schwarz) ที่เพาะเลี้ยงในเขตสวนผลไม้ จ.จันทบุรี และผักชีลาว (Dill, Anethum graveolens L) และบัวบก (Centella, Centella asiatica L.) โดยมีสารสกัดมาตรฐาน คือ ECa ที่มีการใช้ทางภูมิปัญญาชาวบ้านและทางอายุรเวชเพื่อลดการอักเสบมาอย่างช้านาน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลด้าน การวิจัยบางส่วนยังไม่ชัดเจน รวมทั้งไม่มีการพัฒนาเป็นสูตรตำรับเพื่อใช้ในการลดการอักเสบในรูปแบบแผ่นแปะผิวหนัง คณะผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาเพื่อยืนยันผลของฤทธิ์ต้านการอักเสบที่พบ พร้อมทั้งหาวิธีการสกัดที่ให้สารสกัดที่มีฤทธิ์สูงสุด เพื่อนำสารสกัดที่ได้นั้นมาออกแบบและพัฒนาให้ได้ตำรับยาต้นแบบที่มีความคงตัวและสะดวกต่อการใช้งานในรูปแบบแผ่นแปะ ผิวหนัง วิธีการและผลการทดลอง สารสกัดชันและสารสกัดผักชีลาวถูกนำมาทดสอบทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์มาโครฟาจ RAW264.5 พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง nitric oxide (NO) ได้ที่ IC50 ของสารสกัดชัน สารสกัดผักชีลาวส่วนลำต้นเหนือดิน (Ar Et/Pet) เท่ากับ 32.59±0.36 µg/ml และ 68.81±1.37 µg/ml ตามลำดับ พร้อมทั้ง แสดงฤทธิ์ในการลดระดับของ pro-inflammatory cytokine ที่หลั่งจากเซลล์ด้วย นอกจากนั้น สารสกัดชันยังพบว่ามีฤทธิ์สูงกว่า α-mangostin ที่เป็นสารประกอบหลักในสารสกัดในขนาดสารที่เทียบเท่ากันถึง 5 เท่า โดยสารสกัด Ar Et/Pet นั้น พบว่ามีผลลดการแสดงออกของยีน iNOS ที่ relative mRNA expression เท่ากับ 0.62±0.11 และในการพัฒนาสูตรตำรับแผ่นแปะผิวหนังโดยมี ECa 233 เป็นส่วนประกอบนั้นมีส่วนประกอบในตำรับ คือ PVA ชนิดของพอลิเมอร์ที่ใช้ซึ่งส่งผลต่อคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ทั้งลักษณะทางกายภาพ ความเข้ากันของตำรับ ความยืดหยุ่น การดูดซับของเหลวและการปลดปล่อยยา สรุป และอภิปราย สารสกัดชันจากชันโรง สารสกัดผักชีลาวส่วนลำต้นเหนือดินนั้นมีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้าง NO ซึ่งเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งของกลไกการอักเสบ ซึ่งสารสกัดชันมีฤทธิ์ สูงกว่าสารบริสุทธิ์ที่เป็นองค์ประกอบหลัก ส่วนสารสกัดผักชีลาวจากส่วนลำต้นเหนือดินพบฤทธิ์ โดยทำงานผ่านการยับยั้งการแสดงออกของยีน iNOS และต้นแบบตำรับแผ่นแปะผิวหนังที่บรรจุ สารสกัดบัวบก ECa 233 นั้น สามารถรักษาคุณสมบัติของต้นแบบตำรับได้โดย โดยพบว่า SCMC อาจเป็นพอลิเมอร์ที่เหมาะสมในการนำไปศึกษาต่อ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการดูดซับหนองในอนาคตได้ th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ยาใช้ภายนอก th_TH
dc.subject พืชท้องถิ่น th_TH
dc.subject แผ่นแปะผิวหนัง th_TH
dc.subject การอักเสบ th_TH
dc.subject ชันโรง th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title โครงการออกแบบและพัฒนาตำรับยาใช้ภายนอกจากพืชท้องถิ่น ของประเทศไทยในรูปแบบแผ่นแปะผิวหนังเพื่อลดการอักเสบ th_TH
dc.title.alternative Design and development of transdermal patches as antiinflammatory formulations from local Thai plants th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email psrikoon@gmail.com
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Introduction To study anti-inflammatory effect of natural compounds for development agent as drug of choice, propolis of Tetragonula pegdeni Schwarz from mangostin orchard in Chanthaburi province, dill (Anethum graveolens L) and centella (Centella asiatica L.) standardized extract is ECa were investigated in this study. These plants have been used in Ayuravedic and traditional medicine for a long time. However, the scientific evidence is still unclear in some parts including no dermal patch formula has been established with these plant extracts. This study aims to determined anti-inflammatory effect of these plant extracts for design and development ot anti-inflammatory dermal patch. For being useful and convenience as a drug of choice. Methods Propolis crude extract and dill extracts were determined the effect on NO production in macrophage RAW264.7 cells. Propolis crude extract and arial part of dill (Ar Et/Pet) were found to inhibit NO production significantly and further confirmed with reduction of pro—inflammatory cytokine production beyond LPSstimulation with IC50 at 32.59±0.36 µg/ml and 68.81±1.37 µg/ml, respectively. Propolis crude extract showed 5-fold higher potency than its comparable concentration purified compound-α-mangostin. Dill Ar Et/Pet was identified to down regulate the iNOS mRNA expression. For design and development of dermal patch with ECa 233, the main components needed to be concerned are PVA and other polymers which affects the properties of patch including physical, homoginicity, strength, absorption ability and drug release profile. Results and Conclusion Propolis crude extract and arial part of dill extracts decreased NO production in RAW264.7 cells which is key inflammatory mediator. Propolis crude extract showed higher potential than α-mangostin. Arial part of dill extracts significantly downregulate iNOS mRNA expression which regulated NO production. ECa 233 was successfully formulated the dermal patch formulation as a prototype for dermal patch dosage form development en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account