Abstract:
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีการประเมินการรับสัมผัสสารเบนซีน
โทลูอีนและไซลีนรวมถึงประเมินความสามารถในการทำงาน จำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษา
มี 200 คน กลุ่มศึกษามีอายเฉลี่ย 44.05 ปี และ 33.95 ปีสำหรับกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มศึกษาใน
แต่ละวันส่วนใหญ่ทำหน้าที่เก็บกวาดขยะ 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 92.0 และทำงาน 6 วัน ต่อสัปดาห์
ร้อยละ 63.0 มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจทุกคร้ังร้อยละ 57.0 โดยส่วนใหญ่เป็น
การใช้ผ้าปิด จมูกร้อยละ 97.9 และระดับความสามารถในการทำงาน อยู่ในระดับ ดีร้อยละ 64.0
ในการเก็บตัวอย่างอากาศใช้ Organic Vapor Monitor (3M 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการ
หายใจของกลุ่มศึกษา พบว่า กลุ่มศึกษา (n=100) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของเบนซีน
20.63±1.363 ppb โทลูอีน 86.09±84.016 ppbและไซลีน 4.85±6.125 ppb และมีการเก็บตัวอย่า ง
ปัสสาวะหลังสิ้นสุดการทำงาน พบว่า กลุ่มศึกษา (n=100) มีค่าเฉลี่ย± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
โทลูอีนในปัสสาวะ 0.001±0.002 µg/l และไซลีนในปัสสาวะ0.038± 0.082µg/l เมื่อเปรียบเทียบ
ค่าเฉลี่ยของปริมาณความเข้มข้นของสารเบนซีน โทลูอีนและไซลีนในบรรยากาศการทำงาน
ระหวา่งกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า สารเบนซีน โทลูอีนและไซลีน มีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p <0.001, p<0.001 และ p<0.001 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบ
เทียบค่าเฉลี่ยของความสามารถในการทำงานระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า ไม่มี
ความแตกต่างกันและเมื่อหาความสัมพันธ์พบวา่ ปริมาณความเข้มข้นของสารเบนซีน โทลูอีนและ
ไซลีนในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคลและในปัสสาวะกบัความสามารถในการทำงานของ
กลุ่มศึกษาพบวา่ ไม่มีความสัมพันธ์กัน จากผลการศึกษานี้ทำให้ตระหนักได้ว่า กลุ่มศึกษาควรได้รับ
การอบรมให้ความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายของสารเบนซีน โทลูอีนและไซลีนและวิธีการป้องกัน
รวมถึงการแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกนัระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไปในขณะ
ปฏิบัติงาน