DSpace Repository

แนวทางการคัดกรองทางอาชีวอนามัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจจากการรับสัมผัสไอและฝุ่นโลหะหนักในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพหลอมโลหะในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในเขตภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author อนามัย เทศกะทึก
dc.contributor.author ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
dc.contributor.author ธีรยุทธ เสงี่ยมศักดิ์
dc.contributor.author วัลลภ ใจดี
dc.contributor.author วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-06-07T06:56:59Z
dc.date.available 2019-06-07T06:56:59Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3590
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ประกอบด้วย สมรรถภาพปอด ผลถ่ายภาพรังสีทรวงอก อาการระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจของผู้ประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมหลอมโลหะในเขตภาคตะวันออก จำนวน 399 คน เก็บข้อมูลโดยประเมินความเข้มข้นไอโลหะหนักชนิดหนึ่ง (ความลับทางการค้า) ก๊าซโอโซน ฝุุนขนาดเล็กชนิดที่เข้าทางเดินหายใจได้ (Respirable dust) สอบถามอาการระบบทางเดินหายใจ การถ่ายภาพรังสีทรวงอก และตรวจสมรรถภาพปอด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศชายและเพศหญิง อายุเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน) เท่ากับ 25.78 (4.67) ปี และ 28.24 (5.33) ปี เพศชายมีประวัติการสูบบุหรี่ ร้อยละ 25.9 เพศชายมีการใช้หน้ากากปูองกันระบบทางเดินหายใจร้อยละ 87.5 เพศหญิง ร้อยละ 47.6 ความ เข้มข้นเฉลี่ยสูงสุด (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ของไอโลหะหนักชนิดหนึ่ง (ความลับทางการค้า) เท่ากับ 0.0138 (.008) มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ก๊าซโอโซน เท่ากับ 65.05 (3.889) พีพีบี และความเข้มข้นฝุุนโลหะหนักขนาดเล็กชนิดที่เข้าทางเดินหายใจได้ เท่ากับ 0.325 (0.289) มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ผลการตรวจสมรรถภาพปอดจำแนกตามระดับความเข้มข้นไอโลหะหนักชนิดหนึ่ง เมื่อพิจารณาค่า FEV1 (% Predicted) พบว่า ผู้ที่มีความผิดปกติแบบอุดกั้น (Obstructive abnormality) ระดับผิดปกติเล็กน้อย ร้อยละ 2.5 เมื่อพิจารณาค่า FVC (% Predicted) พบผู้ที่มี ความผิดปกติแบบจำกัดการขยายตัว (Restrictive abnormality) ระดับเล็กน้อย ร้อยละ 2.0 ส่วนผลการถ่ายภาพรังสีทรวงอกผู้ จำนวน 397 ราย พบว่า มีความผิดปกติ ร้อยละ 3 ที่เป็นพังผืด โดยเป็นบริเวณปอดข้างขวาบน (Fibrosis) ร้อยละ 0.75 และมีพังผืดบริเวณปอดทั้งสองข้างด้านล่าง ร้อยละ 0.25 โดยร้อยละ 100 เป็นเพศชาย อยู่ในกลุ่มสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ร้อย ละ 25 การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ (Multiple linear regression) จำนวน 3 โมเดล จำแนกตามความเข้มข้นไอโลหะหนักชนิดหนึ่ง (ความลับทางการค้า) ก๊าซโอโซน และฝุุนขนาดเล็ก ที่สามารถเข้าระบบทางเดินหายใจได้ ประกอบด้วยตัวแปรทำนาย 7 ตัวแปร คือ เพศ อายุ ประวัติ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ระยะเวลาในการทำงาน (ปี) การสวมหน้ากากป้องกัน ระบบทางเดินหายใจ ความเข้มข้นฝุุนกับการเปลี่ยนแปลงของค่า FVC ค่า FEV1 พบว่า มีเพศและอายุ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่า FVC ค่า FEV1 และ FEV1/ FVC เมื่อมีการควบคุมอิทธิพลของตัวแปร อื่น สถิติที่ระดับ .05 การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์เพื่อหาปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ (Multiple logistic regression) จากปัจจัย เพศ อายุ ประวัติการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน ประวัติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระยะเวลาในการทำงาน การสวมฮู้ดป้องกันระบบทางเดินหายใจ และความเข้มข้นไอโลหะหนักชนิดหนึ่ง (ความลับทางการค้า ) พบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออาการไอ คือ ประวัติการสูบบุหรี่ มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 1.97(1.009,3.847) การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 2.039(1.074,3.872) ส่วนในกลุ่มรับสัมผัสก๊าซโอโซน คือ OR (95% CI) เท่ากับ 2.024(1.037,3.949) และ OR (95% CI) เท่ากับ 1.922(1.014,3.642) ส่วนกลุ่มที่รับสัมผัสฝุุนขนาดเล็กชนิดที่เข้าทางเดินหายใจได้ (Respirable dust) พบกลุ่มที่สูบบุหรี่ มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 1.708(1.033,2.825) ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรมีการเฝูาระวังสุขภาพผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์ ผู้ที่เป็นเพศหญิง อายุงานมากกว่า 3 ปี รับสัมผัสกับไอโลหะหนักชนิดหนึ่ง (ความลับทางการค้า) ฝุุนโลหะหนักขนาดเล็กที่เข้าระบบทางเดินหายใจได้ เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อค่า FVC และ FEV1 การเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากการปฏิบัติงานในโรงงานหลอมโลหะหนักมากขึ้น th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ทางเดินหายใจ th_TH
dc.subject ระบบทางเดินหายใจ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title แนวทางการคัดกรองทางอาชีวอนามัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจจากการรับสัมผัสไอและฝุ่นโลหะหนักในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพหลอมโลหะในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในเขตภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative Occupational Health Screening Guideline on Respiratory Effect among Smelters Exposed to Heavy Metal Fume and Dust in a Factory in Eastern Thailand th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email anamai@buu.ac.th th_TH
dc.author.email yingrata@yahoo.com th_TH
dc.author.email teera010@gmail.com th_TH
dc.author.email wanlopj@buu.ac.th th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative The objective of this study was to examine the respiratory disorders, lung function, chest radiograph, respiratory symptoms, and factors related to respiratory disorder among the workers exposed to a heavy metal fume (trade secret) and dust in a smelting factory in Eastern Thailand. The researchers gathered data from 399 participants. The analysis of the concentrations of the heavy metal fume, ozone gas and respirable dust were conducted. Enquiries on symptoms of the respiratory system were made as well as chest radiograph and lung function test. The study found that the average ages of the male subjects was 25.78 (S.D. 4.67) years-old and 28.24 (S.D. 5.33) years-old for the female. The male subjects were 25.9% smokers. 87.5% of the male and 47.6% of the female subjects used dust mask to prevent inhalation hazard. The highest concentration of the heavy metal fume was 0.0138 (S.D. 0.008) milligram per cubic meter, and ozone gas was 65.05 (S.D.3.889) ppb. The concentration of the respirable dust was 0.325 milligram per cubic meter (SD 0.289). In regards to FEV1 (% predicted), we found that 2.5% had obstructive abnormality. When assessing FVC (% predicted), it was found that 2% had restrictive ventilator impairment. Regarding chest radiograph of the 397 subjects, 3% had fibrosis. 0.25% had small size fibrosis in which 100% was male, and 25% were smokers. Regarding chest radiograph of the 397 subjects, 3% had fibrosis, 0.75% had fibrosis in the upper lung. 0.25% had fibrosis in the area of both sides of the lower lung in which 100% was male, and 25% were smokers After using 3 models of multiple linear regression analysis, the study identified 7 variables derived from the concentration of the heavy metal fume, ozone gas and respirable dust namely; gender, age, smoking history, alcohol consumption history, working duration (year) and the use of mask. Regarding the shift in FVC and the FEV1, it was found that gender and age had an effect to the shift of FVC, FEV1 and FEV1/ FVC controlling for influences of other variables. The significant level was at .05. The result from multiple logistic regression analysis taken into account gender, age, current smoking status, alcohol consumption, working duration, the use of dust mask, and the metal fume concentration revealed that coughing symptom was related to smoking history (OR 1.97, 95% CI 1.009, 3.847), and alcohol consumption (OR 2.039 95% CI 1.074, 3.872). Factors that affected coughing symptom among the ozone gas exposed group was smoking and alcohol consumption with the OR (95% CI) of 2.024 (1.037, 3.949) and 1.922 (1.014, 3.642), respectively. For the respirable dust exposed group, the OR (95% CI) among the smokers was 1.708 (95% CI 1.033, 2.825). For the recommendation of the study, lung function test should be implemented among the workers who had smoking history, being female, drinking alcohol, had work experience > 3 years, exposed to the metal fume, and respiable dust. These factors increased the risk of FVC and FEV1 decline as well as respiratory disorders. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account