Abstract:
เป็นที่ทราบกันดีว่าไม่พียงแต่เอสโตรเจนที่สังเคราะห์ขึ้นจากต่อมเพศ แต่รวมถึงเอสโตรเจนที่สังเคราะห์ในสมองส่วนฮิปโปแคมป์สด้วยที่มีบทบาทสําคัญต่อกระบวนการสร้างความจํา อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของของการให้เอสโตรเจนเพื่อรักษาภาวะความจําเสื่อมลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบถึงบทบาทของเอสโตรเจนที่สังเคราะห์จากฮิปโปแคมปัสในภาวะชรา งานวิจัยครั้งนี้จึงมีสมมุติฐานว่าการที่ประสิทธิภาพของการให้เอสโตรเจนลดลงในภาวะชรานั้นขึ้นกับเอสโตรเจนที่สังเคราะห์จากฮิปโปแคมปัส คณะผู้วิจัยจึงทดสอบสมมุติฐานในหนูแรทเพศเมียอายุ 2 5 10 19 เดือน โดยการวัดปริมาณของเอสโตรเจนในเนื้อเยื่อสมองทั้งส่วน ฮิปโปแคมปัสและซีรีบรัลคอร์เท็กซ์
การแสดงออกของตัวรับเอสโตรเจน และเอนไซมUที่สําคัญต่อการกระบวนการสังเคราะห์สเตียรอย์ ได้แก่ StAR และ P450scc เนื่องจากการทดลองก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่ระดับของเอสโตรเจนในเลือดไม่สัมพันธ์กับระดับของความสามารถในการจําได้ ในภาวะชรา ในทางตรงกันข้าม ระดับของเอสโตรเจน และตัวรับเอสโตรเจน ลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสของหนูแรทเพศเมียอายุ 19 เดือน เมื่อเทียบกับกลุ่มที่อายุน้อยกว่า มากไปกว่านี้การแสดงออกของ เอนไซม์ StAR และ P450scc มีการลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติในกลุ่มที่อายุ 19 เดือน เช่นเดียวกัน จากทั้งหมด
นี้สามารถสรุปได้ว่าน่าจะมีปัจจัยบางอย่างเมื่อสมองเขาสู่ภาวะชราและมีบทบาทสําคัญในการยับยั้งกระบวนการสังเคราะห์เอสโตรเจนในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสของหนูชรา ซึ่งทําให้เกิดการสูญเสียความสามารถในการจําในที่สุด