Abstract:
การศึกษาเพื่อประเมินผลการดำเนินงานสร้างสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มเป้าหมายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาพื้นที่ (ระยอง) ปีงบประมาณ 2550
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้บริการตามสิทธิประกันสุขภาพและศึกษาความครอบคลุมการได้รับบริการการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามตัวชี้วัด 9 ด้าน
ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้แก่ บริการตรวจก่อนคลอด บริการวางแผนครอบครัว บริการการให้วัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค บริการตรวจคัดกรอง
มะเร็งปากมดลูก บริการการตรวจธาลัสซีเมีย การตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์และไอโอดีน การได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต
การได้รับบริการเยี่ยมบ้าน และการได้รับบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้งปัญหาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกลไกและรูปแบบการจัดสรรงบประมาณสร้างเสริม
สุขภาพและป้องกันโรค
กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้รับบริการและครัวเรือนในเขตพื้นที่ 9 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก และสมุทรปราการ
เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนให้ครอบคลุมอำเภอในเขตเมืองและเขตชนบท เครื่องมือในการประเมิน คือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการ ได้แก่ อายุ เพศ
สิทธิการรักษา แหล่งบริการสุขภาพ และแบบสัมภาษณ์กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 9 ด้าน ได้แก่ การตรวจก่อนคลอดสำหรับหญิงตั้งครรภ์
การตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียสำหรับหญิงตั้งครรภ์ การวางแผนการคุมกำเนิดสำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินกับสามี การให้วัคซีนพื้นฐานตามแผนงาน
การให้ภูมิคุ้มกันโรคสำหรับเด็กแรกเกิด-5 ปี การตรวจคัดกรองไทรอยด์ฮอร์โมนสำหรับทารกแรกเกิด การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกืสำหรับสตรีที่อายุ 35 ปีขึ้นไป
กาารตรวจคัดกรองเบาหวานและการตรวจคัดกรองเบาหวานและการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงสำหรับหญิงชายอายุ 40 ปีขึ้นไป แบบสัมภาษณ์การเยี่ยมบ้านโดยทีมสุขภาพ/เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพสำหรับครัวเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบประเมิน ดังกล่าวในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2550 สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้บริการและผู้บริหาร ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย จากผู้ให้บริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ และผู้บริหารในหน่วยคู่สัญญา กระจายตามพื้นที่ของกลุ่มตัวอย่งที่เป็นผู้รับบริการ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม ตามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2551 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และประมวลผลด้วยการหาค่าความถี่
ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา