Abstract:
ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กล่าวคือสังคมที่มีประชากรตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด เนื่องจากอัตราการเจริญพันธุ์ลดลงและการมีอายุยืนยาวขึ้น ปัญหาสุขภาพที่พบควบคู่ไปกับผู้สูงอายุคือ โรคกระดูกพรุน ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายขาดความสมดุลททำให้การทลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากเกินไป กระดูกจึงขาดความแข็งแรง เสียงต่อการหักได้ง่าย แม้ว่าโรคกระดูกพรุนจะมีหลายสาเหตุ เช่น การขาดฮอร์โมนจากรังไข่ การเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ ก็เป็นสาเหตุที่เร่ง หรือทำให้กระดูกพรุนแย่ลงกว่าเดิม เช่นโรคเบาหวาน เป็นต้น โรคเบาหวานประเภทที่ 2 เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุทั่วทั้งโลก และมีแนวโน้มเพิ่มยิ่งขึ้น เคยมีการศึกษากันมาบ้างและพบว่าเบาหวานประเภทที่ 2 ทำให้กระดูกในภาพรวมความแข็งแรงของโครงร่างกระดูกลดลง อย่างไรก็ดี ยังไม่เคยมีการศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงของกระดูกตั้งแต่วัยผู้ใหญ่จนถึงเริ่มเข้าวัยสูงอายุ และการแสดงออกของยีน FGF-23 ในลำไส้ในช่วงเวลาดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีเป้าหมายที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงของกระดูกตามอายุและภายใต้ภาหะที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ในการทดลอง ผู้วิจัยใช้หนู Wistar เพศเมีย และหนูเบาหวานประเภทที่ 2 เลี้ยงให้มีอายุ 7 เดือน และ 13 เดือน เพื่อเป็นตัวแทนของวัยวัยผู้ใหญ่และวุัสูงอายุ ลำไส้นำไปใช้ศึกษาาการแสดงออกของยีน FGF-23 ผลการศึกษาพบว่า การการเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 แม้จะทำให้เปลือกกระดูกดูมีความหนาหรือมีพื้นที่มากขึ้น แต่โครงสร้างของใยกระดูกภายในนั้นกลับแย่ลง การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของกระดูกที่เกิดขึ้นในหนูเบาหวาน เป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยชดเชยความแข็งแรงของกระดูกอันเนื่องมาจากการสูญเสียมวลกระดูกในโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นอกจากนี้ยังพบว่า อายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้กลไกการชดเชยความแข็งแรงของกระดูกใน หนูจีเคลดลง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างหนูจีเคที่อายุ 7 เดือนและ 13 เดือน ผลการศึกษาดังกล่าวชี้นำโรคเบาหวานส่งผลเสียต่อกระดูกทั้งในแง่ของการเจริญเติบโตของกระดูก ความหนาแน่นของมวลกระดูก และโครงสร้างของกระดูก ซึ่งอายุที่เพิ่มขึ้นยิ่งยังผลเสียต่อกระดูกมากขึ้นในโรคเบาหวาน จึงสรุปได้นำโรคเบาหวานเป็นปัจจัยหนึ่งที่เร่งให้การเชื่อมของโครงสร้างกระดูกนั้นแย่ลงเร็วกว่าเดิม การป้องกันไม่ให้เป็นโรคเบาหวานจึงเป็นทางที่ดีที่ดีในเวลานี้ ที่จะช่วยชะลอการเกิดกระดูกพรุน