Abstract:
Acid peptic disorders คือความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารอันเนื่องมาจากการหลั่งกรดใน
กระเพาะอาหารที่มากเกินไป รายงานทางการแพทย์บ่งชี้ว่าประชาการหลายล้านคนทั่วโลก การรักษา
ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดคือยากลุ่มโปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ (proton pump inhibitors; PPIs) จึงทำให้ยากลุ่ม PPIs นี้เป็นหนึ่งในยาที่ขายดีที่สุดทั่วโลก และมีผู้ใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายล้านคนทั่วโลกเช่นกันนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 จนปัจจุบันมีรายงานทางการแพทย์หลายฉบับบ่งชี้ผลข้างเคียงของการใช้ omeprazole ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม PPIs ติดต่อกันมากกว่า 1 ปี ทำให้ระดับ Mg2+ ในกระแสเลือดต่ำอย่างรุนแรง โดยสันนิฐานว่าน่าจะเกิดจากการดูดซึม Mg2+ ผิดปกติ แต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัย การศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาผลของการให้ omeprazole ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม PPIs ในหนูขาว ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการให้ยา omeprazole ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมีผลทำให้ปริมาณ Mg2+ ในกระแสเลือดของหนูลดต่ำลงกว่าปกติจริง คล้ายคลึงกับที่พบเจอในมนุษย์ เมื่อศึกษาระดับ Mg2+ ในปัสสาวะก็พบว่ามีระดับต่ำเช่นเดียวกัน บ่งชี้ว่าไม่มีการสูญเสีย Mg2+ ในปัสสาวะจึงน่าจะมาจากการลดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ และเมื่อทำการศึกษาการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ ก็พบว่า omeprazole มีฤทธิ์กดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้จริง เป็นการยืนยันสมมุติฐานคือ omeprazole มีฤทธิ์กดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ เมื่อได้รับ omeprazole ติดต่อกันจึงมีผลทำให้ระดับ Mg 2+ ในกระแสเลือดต่ำลง
อย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ASIC1a, OGR1, และ P2Y purinoceptors ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
การควบคุมการทำงานของลำไส้ในการ ดูดซึม Mg2+ การศึกษาคุณสมบัติทางไฟฟ้าพบว่า omeprazole มีฤทธิ์ลด Isc และเพิ่ม TER อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บ่งชี้ว่า omeprazole ลดการขนส่งอิออนและลด paracellular permeability การศึกษาทางชีวฟิสิกส์พบว่า omeprazole มีฤทธิ์ลด PNa/PCl และ PNa อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บ่งชี้ว่า omeprazole ลด paracellular cation selectivity สรุปได้ว่า omeprazole ลดการเลือกประจุบวกขนส่งผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์ และเพิ่มความต้านทานของการขนส่งสารผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์จึงมีผลกดการขนส่งผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์ การศึกษาทางด้าน histology ทั้ง H&E technique และ TEM technique ก็พบว่า omeprazole มีฤทธิ์ลด absorptive area surface และลดความกว้างของ tight junction เป็นการยืนยันได้ว่า omeprazole มีฤทธิ์กดการทำงานในลำไส้จริง อย่างไรก็ตามกลไกที่ omeprazole กดการทำงาน
ของลำไส้ทั้งในระดับโครงสร้างและระดับเซลล์ยังไม่มีการศึกษาวิจัย อย่างไรก็ตามเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะพร่อง Mg2+ ก็พยายามชดเชยโดยการเพิ่มการแสดงออกของ TRPM6 และ CNNM4 ซึ่งทำงานในการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ ในลำไส้เกือบทุกส่วน เป็นข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าร่างกายสัตว์ทดลองกำลังปรับตัวเพื่อรับมือกับผลข้างเคียงของ omeprazole แต่กลไกที่ควบคุมการปรับตัวนี้ก็ยังไม่ทราบแน่ชัด