Abstract:
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะหาระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการผลิต ephyra ของ scyphistoma (polyp) แมงกะพรุนถ้วย (Catostylus townsendi) ในห้องปฏิบัติการ โดยไม่มีผลต่ออัตรารอดของ polyp จํานวนและขนาดของ ephyra โดยสุ่มตัวอ่อนแมงกะพรุนถ้วยในระยะ polyp จํานวน 45 ตัว ใส่ลงในภาชนะทดลองพลาสติก ขนาดความจุ 150 มิลลิลิตร จํานวน 1 polyp
ต่อหนึ่งภาชนะทดลอง แล้วแบ่งออกเป็น 3 ชุดทดลอง ชุดทดลองละ 15 ซ้ำ (polyp) นําไปเลี้ยงไว้ ในกล่องโฟม ที่ควบคุมอุณหภูมิ ให้อยู่ในระดับที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 25.0, 27.0 และ 30.0 (ควบคุม) องศาเซลเซียส (°C) เป็นนระยะเวลา 60 วัน ผลการทดลองแสดงว่า ระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่ออัตรารอดของ polyp เมื่อสิ้นสุดการทดลอง และจํานวนของ ephyra ที่รวบรวมได้
ทั้งหมดตลอดการทดลอง (p>0.05) โดย polyp มีอัตรารอดเฉลี่ย (±SE) อยู่ระหว่าง 80.0 ± 10.7 -86.7 ± 9.1 % และจํานวน ephyra ที่ผลิตได้เฉลี่ย (±SE) เท่ากับ 13.6±1.2, 15.6 ±1.9, 15.9±1.0 ตัวต่อ polyp ที่อุณหภูมิ 25.0, 27.0 และ 30.0 °C ตามลําดับ แต่พบว่าระดับของอุณหภูมิที่แตกต่างกัน มีผลต่อขนาดของ ephyra โดย ephyra มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย (±SE) สูงสุดเท่ากับ 2.10±0.03a มิลลิเมตร เมื่อเลี้ยงที่อุณหภูมิ 25.0 °C และมีขนาดเล็กสุด เท่ากับ 1.81±0.03b มิลลิเมตร และ 1.78±0.03b มิลลิเมตร (p<0.01) ที่อุณหภูมิ 27.0 และ 30.0 °C ตามลําดับ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าที่อุณหภูมิ 30.0 °C มีแนวโน้มทําให้ ephyra :มีรูปร่างที่ผิดปกติไปจากเดิมสูงสุดเฉลี่ย (±SE) 24.8±3.3a ซึ่งแตกต่างจาก ephyra ของแมงกะพรุนถ้วยที่เลี้ยงที่อุณหภูมิ 25.0 และ 27.0 °C (p<0.01) ที่มีความผิดปกติของ ephyra เฉลี่ย (±SE) 21.1±5.5ab และ 10.4±14.9b ตามลําดับ สรุปได้ว่าระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมสําหรับการผลิต ephyra ของแมงกะพรุนถ้วย เท่ากับ 25.0 °C เพราะสามารถผลิต ephyra ในห้องปฏิบัติการ ได้มีขนาดใหญ่ และสมบูรณ์ที่สุด