dc.contributor.author | ณรงค์ พลีรักษ์ | |
dc.contributor.author | พรรณิภา อนุรักษากรกุล | |
dc.contributor.author | ธนภูมิ ปองเสงี่ยม | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-05-12T08:04:41Z | |
dc.date.available | 2019-05-12T08:04:41Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3556 | |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและสำรวจข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดย บันทึกค่าพิกัดของแหล่งท่องเที่ยวด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System: GPS) จากนั้นจัดทำแผนที่ตำแหน่งที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวด้วยเทคนิคระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) และวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และสระแก้ว จากการรวบรวมและสำรวจแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์พบว่า มีแหล่งท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 39 แห่ง ตั้งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา 6 แห่ง ชลบุรี 5 แห่ง ระยอง 7 แห่ง จันทบุรี 5 แห่ง ตราด 7 แห่ง ปราจีนบุรี 4 แห่ง และสระแก้ว 5 แห่ง ส่วนการประเมินความเป็นไปได้ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีคะแนนรวมเท่ากับ 53 คะแนน หากมีคะแนนมากกว่า 27 คะแนน (มากกว่าร้อยละ 50) แสดงว่ามีความเป็นไปได้สูงในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จากการประเมินแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 39 แห่ง พบว่า แหล่งท่องเที่ยวทั้งหมดมีคะแนนมากกว่า 27 คะแนน โดยแหล่งท่องเที่ยวที่มีคะแนนเต็ม ได้แก่ ชุมชนบ้านน้ าเชี่ยว รองลงมา ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 50 คะแนน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบ-เอื้อง โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ได้คะแนนเท่ากัน คือ 48 คะแนน ในขณะที่แหล่งท่องเที่ยวที่ได้คะแนนน้อยที่สุด ได้แก่ ชุมชนบ้านท่าระแนะ 34 คะแนน เนื่องจากกิจกรรมยังไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ระหว่างเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวกับนักท่องเที่ยว และขาดการบริหารจัดการที่ดี กลยุทธ์การตลาดสำหรับแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ศึกษา ประกอบด้วย (1) รูปแบบ ของกิจกรรมที่จัดขึ้นต้องก่อให้เกิดการเรียนรู้หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเจ้าของวัฒนธรรมกับ นักท่องเที่ยว (2) การส่งเสริมการตลาด เช่น การลดราคาหรือการจัดแพ็คเกจท่องเที่ยว ผ่านสื่อโชเชียลมีเดีย Facebook, Instagram และ Twitter (3) ข้อมูลข่าวสารของแหล่งท่องเที่ยวควรเผยแพร่ผ่าน เว็บไซต์หรือสื่อโซเชียลมีเดีย (4) กิจกรรมที่จัดขึ้นต้องมีความน่าสนใจ สามารถปรับและเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ และเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวหลายช่วงอายุ (5) สร้างจุดเด่นหรือความเป็นเอกลักษณ์ให้กับแหล่งท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาให้เกิดกิจกรรมที่มีความแปลกใหม่และน่าสนใจ และ (6) สร้างสิ่ง อำนวยความสะดวกพื้นฐานที่จำเป็น โดยเฉพาะควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการเดินทางและการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น จากผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้ใน 2 ประเด็นหลัก คือ (1) การปรับปรุงกิจกรรมเดิมที่มีอยู่แล้ว และสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ขึ้น โดยกิจกรรมต้องก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ระหว่างเจ้าของแหล่ง ท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว เพื่อให้เป็นไปตามหลักการของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และ (2) การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อดึงดูดและกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การท่องเที่ยว -- แง่สังคม | th_TH |
dc.subject | อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย (ภาคตะวันออก) | th_TH |
dc.subject | ไทย (ภาคตะวันออก) -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว | th_TH |
dc.subject | สาขาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.title | โครงการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวบูรพาทิศ | th_TH |
dc.title.alternative | Creative tourism in the Eastern Areas | en |
dc.type | Research | en |
dc.author.email | narong_p@buu.ac.th | |
dc.author.email | pannipha@buu.ac.th | |
dc.author.email | thanaphum.p@hotmail.com | |
dc.year | 2559 | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of research are to collect and survey the creative tourism information by recording the coordinates of tourist attractions using the Global Positioning System (GPS). Then the tourist attractions are mapped using Geographic Information System (GIS) techniques, and all tourist attractions are analyzed marketing strategies in Chachoengsao, Chon Buri, Rayong, Chanthaburi, Trat, Prachinburi and Sakaeo. The results found that there are total of 39 tourist attractions of which 6 in Chachoengsao, 5 in Chon Buri, 7 in Rayong, 5 in Chanthaburi, 7 in Trat, 4 in Prachinburi and 5 in Sakaeo. The total score of assessment for the creative tourism development is 53. If a tourist attraction has score that is more than 27 points (>50%), it is highly probable to develop as creative tourism attraction. All tourist attractions’ score are more than 27 points. The top score is Namcheao village (53 points), followed by Ao Kung Kraben Development Study Center under the advice of His Majesty the King (50 points), Khao Hin Sorn Royal Development Study Center (48 points), Mab Aung Natural Agriculture Center (48 points), Chaopraya Abhaiphubeihr Hospital (48 points) and Kasorn Kasivit School (48 points). While the least total score is Tharanae village with 34 points because the activities are not able to show the exchanges of learning and experience between the owners of tourist attractions and the tourists, also the lack of good management as well. The marketing strategies of tourist attractions for this study area consist of (1) the form of activities undertaken in tourist attractions must be an activity that fosters learning or sharing experiences between cultural owner and tourist, (2) marketing promotion i.e. discount method and travel package should distribute through social medias such as Facebook, Instagram and Twitter, (3) the tourist information should disseminate via website or social medias (4) the activities must be interesting, can adjust and change to the situation and reach out to many age groups, (5) the tourist attraction must be created the unique for developing activities those are new and fascinating, and (6) the necessary basic facilities must be built such as electricity, water supply, and accommodation, especially the safety of travel and attendance to the activities. Research results can be used as a guide to planning and managing creative tourism attractions in 2 main areas; (1) updating existing activities, and create new activities, activities must involve exchanges of learning and experiences between tourist and tourist owners, and (2) planning marketing strategies to develop and promote creative tourism in various forms to attract and encourage tourists to travel | en |