dc.contributor.author |
จินตนา วัชรสินธุ์ |
|
dc.contributor.author |
กิจติยา รัตนมณี |
|
dc.contributor.author |
ณัชนันท์ ชีวานนท์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-05-03T12:08:53Z |
|
dc.date.available |
2019-05-03T12:08:53Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3549 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยระยะที่ 1 นี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหากิจกรรมทางกายและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกินที่ศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรีและระยอง จ านวน 67 คน และ 169 คน ตามลำดับ และบิดา/มารดาของเด็ก จำนวน 20 คน แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกาย การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นด้วย การวิเคราะห์สถิติพรรณา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ เปรียบเทียบระหว่างวัยเรียนและวัยรุ่นด้วยสถิติ T-Test และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยค่าสหสัมพันธ์ เพียร์สันผลการวิจัยพบว่า จากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม พบว่า เด็กวัยเรียนและวัยรุ่นยังขาด ความเข้าใจและแรงจูงใจในการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม บิดามารดาของเด็ก กลุ่มนี้เห็นความส าคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังของของบุตร และได้พยายามแล้วแต่ยังไม่สำเร็จ ข้อมูลเชิงปริมาณพบว่า ความพร้อมของขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมสุขภาพในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่า การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านการบริโภคอาหารและ กิจกรรมทางกาย และความพร้อมของขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับกิจกรรมทางกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .301, .313, และ .321; p <.05, <.01 และ <.01 ตามลำดับ) ส่วนในเด็กวัยรุ่น พบว่า การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ ความสามารถของตนเองในด้านการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกาย และความพร้อมของขั้นตอน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับกิจกรรมทางกายอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 (r = 241, .239, และ .292; p < .01, <.01 และ <.01 ตามล าดับ) การรับรู้ ความสามารถของตนเองในด้านการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกายที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ พฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .202, p < .01) ส่วนความ พร้อมของขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางลบกับดัชนีมวลกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.267, p < .01) ดังนั้นพยาบาลอนามัยโรงเรียนควรประเมิน ความรู้ความเข้าใจ การรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงจูงใจ และความพร้อมของขั้นตอน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกาย และควรพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพให้สอดคล้องกับผลการประเมินนี้ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การปรับพฤติกรรม |
th_TH |
dc.subject |
วัยรุ่น -- น้ำหนัก |
th_TH |
dc.subject |
พฤติกรรมผู้บริโภค |
th_TH |
dc.subject |
น้ำหนักตัว -- การควบคุม |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกินในเขตชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (ระยะที่ 1) |
th_TH |
dc.title.alternative |
The development of physical activity and eating behavior changing model for overweight school-age children and adolescents, East Coast Thailand |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.author.email |
chintana@buu.ac.th |
th_TH |
dc.author.email |
ratkittiya@gmail.com |
th_TH |
dc.author.email |
natchananc@gmail.com |
th_TH |
dc.author.email |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.year |
2559 |
|
dc.description.abstractalternative |
This descriptive phase I research aimed to explor the eating behavior and physical activity and its factors among overweight School-age children and adolescents, East Coast Thailand. The participants included 67 overweight School-age children and 169 adolescents as 20 parents. The multistage ramdom sampling was performed to recruit the participants. Questionnaires were used to collect quantitative data. Descriptive statisics, T-test, and Pearson product moment correlation were conducted for data analysis. Indept interview and focus group discussion were conducted with interview guide to collect qualitative data. The content analysis was performed for data analysis. Results of qualitative data revealed that the overweight school-age children and adolescents lacked of understanding and motivation for healthy eating behavior and physical activity. The parents of these children paid attendtion on changing eating behavior and exercise for their children, and attempted to change but felt difficult to success. The quantitative data found that among overweight school-age children, the readiness to change eating behavior and physical activity was significantly different between overweight school-age children and adolescents at pvalue < .05. Social support and perceived self efficacy was positive relationship with readiness to change eating behavior and physical activity (r = .301, .313, and .321; p < .05, <.01 and <.01 respectively). The results also found that among overweight adolescents, Social support and perceived self efficacy was positive relationship with readiness to change eating behavior and physical activity (r = 241, .239, and .292; p < 01, <.01 and <.01 respectively). Self-efficacy was positively correlated with eating behavior (r = .202, p < .01). The readiness to change eating behavior and physical activity was negatively correlated with Body Mass Index (r = -.267, p < .01). Therefore, school health nurses should assess knowledge, self-efficacy, motivation, and readiness to change eating behavior and physical activity and design intervention for reducing overweight among these group based on the results of the assessment |
en |