dc.contributor.author |
สายสมร นิยมสรวญ |
|
dc.contributor.author |
ชุติมันต์ จันทร์เมือง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี |
|
dc.date.accessioned |
2019-05-03T08:02:22Z |
|
dc.date.available |
2019-05-03T08:02:22Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3544 |
|
dc.description.abstract |
โลหะผสมจำรูป (Shape memory Alloy) จัดเป็นหนึ่งในวัสดุฉลาดที่สามารถจำรูปร่างก่อน การทำให้เปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือการดัดงอ เมื่อได้รับอุณภูมิที่เหมาะสมโลหะจะสามารถคืนรูป กลับไปเป็นเหมือนเดิมได้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโลหะผสมจำรูปจะมีการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างกลับไปมาระหว่างโครงสร้างมาเทนไซต์ (Martensite) และออสเทนไนต์ (Austenite) ใน ระหว่างการให้ความร้อนและการเย็นตัว โลหะผสมจำรูประบบที่มีทองแดงเป็นหลักนั้นมีข้อดีประการ หนึ่งในเชิงเศรษฐกินเนื่องจากมีราคาถูกกว่าโลหะระบบ Ni-Ti และยังมีความน่าสนใจคุณสมบัติ ทางกลและความร้อน โครงการวิจัยนี้ได้ศึกษาโลหะผสมจำรูประบบ Cu-Zn-Al เจือด้วยอินเดียม 0.1–1.0 wt% และโลหะผสมจำรูป Cu-Al-Mn เจือด้วยแมงกานีส 1.5-3.5 wt% โดยการหล่อแบบแม่พิมพ์ ขี้ผึ้ง (los-wax หรือ Investment casting) ด้วยเครื่องหล่อแบบขดลวดเหนี่ยวนำโดยการหลอม โลหะที่อุณหภูมิ 1,100 C และอุณหภูมิเบ้าปูนหล่อ 650 C โดยศึกษาสมบัติของโลหะผสมจำรูป ด้วยการตรวจวัดและทดสอบดังนี้ การตรวจสอบเฟสด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ ทดสอบ ความสามารถในการจำรูปด้วยการทดสอบการดัดงอ ศึกษาความสามารถต่อการต้านทานการมอง วัดความแข็งด้วย ศึกษาโครงสร้างจุลภาคและการวิเคราะห์ธาตุของโลหะผสมจำรูป ศึกษาโครงสร้าง จุลภาคด้วยจุลทรรศน์แสง กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน แบบส่องผ่าน การวิเคราะห์เคมีด้วยการกระเจิงรังสีเอ็กซ์และศึกษาความเป็นไปได้ในการขึ้นรูปด้วย กระบวนการขึ้นรูปแบบรีดร้อนและรีดเย็น จากผลการทดลองวิจัยพบว่าโลหะผสมจำรูปที่มีส่วนผสมของอินเดียม 0.5 wt% มีความสามารถในการจำรูปสูงสุดคือ สามารถคืนรูปได้จำนวน 21 ครั้ง สำหรับชิ้นงานที่มีความหนา 0.5 มิลลิเมตร โดยมีอัตราการคืนรูปสูงสุดประมำณ 66% และอัตราการคืนรูปจะลดลงตามลำดับเมื่อจำนวนครั้งในการทดสอบมากขึ้น รูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์และภาพโครงสรา้งจุลภาคของโลหะผสมจำรูป Cu–20.8wt%Zn–5.8wt%Al แสดงให้เห็นว่าโลหะดังกล่าวประกอบด้วยเฟสมาเทนไซต์เป็นเฟสหลัก และยังคงมีเฟสของออสเทนไนต์ โลหะผสมที่ไม่มีการเจือด้วยอินเดียมจะมีค่าความแข็งสูงสุดที่ประมาณ 213 HV โดยโลหะผสมที่เจือด้วยอินเดียม ในโลหะที่เจือด้วยอินเดียม 0.5 wt% มีค่าความแข็งประมาณ 204 HV สำหรับโลหะผสมจำรูป Cu-Al-Mn เจือด้วยแมงกานีส พบว่า โลหะที่เจือแมงกานีส 2.0 wt% มีค่าการคืนรูปสูงที่สุด คือสามารถกลับคืนรูปเดิมได้ 100 % การวิเคราะห์ธาตุด้วยการกระเจิงรังสีเอ็กซ์พบว่า มาเทนไซต์ซึ่งเป็นเฟสหลักมีส่วนผสมของอินเดียมและอะลูมิเนียมมากกว่าบริเวณที่เป็นเฟสแม่สำหรับสังกะสีนั้นมีการกระจำยตัวอยู่ทั่วไปในปริมาณเท่ากันในทุกเฟส การศึกษาโครงสร้างจุลภาคของโครงสร้างมาเทนไซต์ที่กำลังขยายสูงด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านแสดงให้เห็นระนาบแฝดขนาดเล็กลักษณะคล้ายแผ่นเรียงตัวเป็นชั้น ๆ และพบแนวรอยเลื่อนใน ซึ่งการปรากฏของระนาบแฝดและแนวรอยเลื่อนดังกล่าวนี้เป็นผลดีต่อสมบัติการจำรูปของรูปของโลหะ เนื่องจากอะตอมสามารถเคลื่อนที่ได้ง่ายในระหว่างการดัดงอ และคืนรูป อย่างไรก็ตามพบว่า ชิ้นงานที่ที่ผ่านการขึ้นรูปด้วยกระบวนการรีดร้อนและรีดเย็น โดยทำ การรีดลดความหนา 30% พบว่ามีการเสียรูปของโครงสรา้งมาเทนไซต์ ทำให้ชิ้นงานสูญเสียความสามารถในการจำรูป |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี |
th_TH |
dc.subject |
อัญมณี |
th_TH |
dc.subject |
เครื่องประดับ |
th_TH |
dc.subject |
การออกแบบเครื่องประดับ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาเศรษฐศาสตร์ |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนาโลหะผสมเสมือนทองสำหรับวัสดุเครื่องประดับและงานสร้างสรรค์ |
th_TH |
dc.title.alternative |
Development of Gold-like Shape Memory Alloy for Materials and Jewelry Product |
en |
dc.type |
Research |
en |
dc.author.email |
saisamor@buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2560 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
Shape Memory Alloys (SMAs) are one group among smart materials. They can remember their original shape and return to a pre-deformed shape after being heated. Shape memory effect derives from a martensitic transformation induced by stress and/or temperature change. Cu-based SMAs provide a more economical alternative compared with Ni-Ti due to their low cost, variety of interesting mechanical and thermal properties. In this work, the Cu-Zn-Al alloy with 0.1–1.0 wt%In and Cu-Al-Mn alloys with 1.5-3.5 wt%Mn were investigated. The alloys were prepared into shapes by lost-wax casting technique with melting temperature at 1100 C and mold temperature at 650 C. Shape memory effect, annealing behavior and microstructure were studied. Optical microscope, Scanning Electron Microscope (SEM) and Energy X-ray Diffraction Spectroscopy (EDS) were used for microstructural characterization. It can be concluded that the microstructure of as-cast alloy contained -phase texture surrounded by matrix phase. EDS revealed that the - phase was enriched with Cu, while Al was more soluble in the matrix phase. The needle-like martensitic texture was found only in the matrix. This texture provided the hardness to reach a maximum at 213 HV in the Cu–20.8wt%Zn–5.8wt%Al alloy. For the alloys containing In, the maximum hardness was 204 HV in the sample containing 0.5 wt%In. For the Cu-Al-Mn alloys, the samples obtained 100% strain recovery in the sample with 2.0 wt%Mn. The hardness and shape memory effect increased with decreasing Mn. Transmission Electron Microscope (TEM) revealed the twin in all samples. It was indicated that the martensitic deformation was accommodated by micro-twinning with the angle of 90º and 55º. These twins were one requirement for shape recovery of the SMAs. However, it was found in the result that the mechanical rolling affected the martensitic texture, and diminished the shape memory effect |
en |