Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพันธุศาสตร์เซลล์ระดับโมเลกุลด้วยเทคนิคฟลูออเรสเซนต์ อินซิทู ไฮบริไดเซชัน (FISH) ของปลาอมไข่ทั้ง 9 ชนิด ได้แก่ ปลาอมไข่ครีบยาว (Pterapogon kauderni) ปลาอมไข่ตาดา (Fibramia lateralis) ปลาอมไข่ตาแดง (Sphaeramia nematoptera) ปลาอมไข่ตาฟ้า ( Sphaeramia orbicularis) ปลาอมไข่นีออน (Zoramia leptacantha) ปลาอมไข่ขาว (Ambassis kopsii) ปลาอมไข่แถบกว้าง (Ostorhinchus fasciatus) ปลาอมไข่ซิดนีย์ (O. limenus) และปลาอมไข่แถบแดง (O. margaritophorus) โดยการเตรียมโครโมโซมจากอวัยวะส่วนไตของตัวอย่างปลาชนิดละ 10 ตัว นาโครโมโซมที่เตรียมได้ไปย้อมสีด้วยเทคนิคฟลูออเรสเซนต์ อินซิทู ไฮบริไดเซชัน (FISH) จานวน 2 โพรบ ได้แก่ โพรบเทโลเมียร์ และโพรบไรโบโซมอล อาร์ดีเอ็นเอ 18S ตรวจสอบสัญญาณเรืองแสงบนโครโมโซมในตาแหน่งที่จาเพาะต่อชนิดของปลาอมไข่ ผลการศึกษาพบว่าจานวนโครโมโซมดิพลอยด์ในปลาทั้ง 9 ชนิด เท่ากัน คือ 46 แท่ง สัญญาณของโพรบถูกพบบริเวณเทโลเมียร์ของโครโมโซมทุกแท่ง ผลการไฮบริไดซ์โพรบไรโบโซมอล 18S อาร์ดีเอ็นเอกับโครโมโซมของปลาอมไข่ทั้ง 9 ชนิด พบว่า ปลาอมไข่ครีบยาว (P. kauderni) ปลาอมไข่ตาดา (F. lateralis) ปลาอมไข่ตาแดง (S. nematotera) ปลาอมไข่ตาฟ้า (S. orbicularis) ถูกพบสัญญาณของโพรบไรโบโซมอล 18S อาร์ดีเอ็นเอบนโครโมโซมจานวน 2 แท่งซึ่งเป็นโครโมโซม ชนิดอะโครเซนทริก ตรงตาแหน่งใกล้กับเทโลเมียร์ของแขนข้างสั้น ส่วนปลาอมไข่นีออน (Z. leptacantha) ปลาอมไข่ขาว (A. kopsii) ปลาอมไข่แถบกว้าง (O. fasciatus) ปลาอมไข่ซิดนีย์ (O. limenus) และปลาอมไข่แถบแดง (O. margaritophorus) ตรวจไม่พบตาแหน่งของยีน ไรโบโซมอล 18S อาร์ดีเอ็นเอบนโครโมโซม