Abstract:
การศึกษาเพื่อจัดทำผังพิสัยการวิจัยระบบสุขภาพ สุขภาวะ และ ภูมิปัญญาด้านสุขภาพของประชาชนภาคตะวันออก ซึ่งดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2548- มกราคม 2549 การศึกษาดำเนินการโดย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึกบุคคล/กลุ่มบุคคล การระดมความคิดเห็น การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน โดยสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม โดย แบ่งประเด็นการศึกษาออกเป็น 6 ประเด็นหลักคือ พฤติกรรมสุขภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพสภาพสังคม ระบบริการสุขภาพ กลไกภาครัฐ/ประชาชน และภูมิปัญญาด้านสุขภาพ
ผลการศึกษาพบประเด็นวิจัยที่ควรดำเนินการโดยเร่งด่วน ในประเด็นต่างๆดังนี้
1. ด้านพฤติกรรมสุขภาพ
1) แนวทางบริหารจัดการเพื่อลดอัตราเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์
2) แนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาความสะอาดของอาหารที่ขายในตลาดนัด
3) การศึกษาสถานการณ์และปัจจัยีท่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุต่อ
การขับขี่รถจักรยานยนต์ (จันทบุรี ชลบรี ฉะเชิงเทรา)
4) การส่งสริมพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยของกลุ่มต่างๆในภาคตะวันออก (แรงงาน เยาวชน ทหารเกณฑ์ รักร่วมเพศ ชาย/หญิงบริการ)
5) ปัจัจยที่สัมพันธืกับการแสดงพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมของเยาวชนในภาคตะวันออก
6) การสร้างรูปแบบที่เหทาะสมในการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารในเด็กวัยต่าง ๆ
7) ปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลต่อสถานการการแพร่ระบาดของสารเสพติดในภาคตะวันออก
8) การประยุคต์รูปแบบการออกกำลังกายในสถานที่ทำงานจำแนกตามลักษณะงาน
9) การพัฒนารูปแบบการส่งเริมการออกกำลังกายในเด็กวันก่อนเรียนและวัยเรียน
10) แนวทางการลดอันตรายของการทำงานของแรงงานอุตสาหกรรม (วัตถุมีคมบาด สิ่งของเข้าตา วัตถุหล่นทับ)
2. สิ่งแวดล้มทางกายภาพ
1) สภาพการปนเปื่อนของสารเคมีอันตรายในแหลงรองรับน้ำเสียในอุตสาหกรรม (แม่น้ำบางประกง พื้นที่ชายฝั่ง แม่น้ำปราจีนบุรี)
2) การศึกษาสภาพปัจจุบันของปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม
3) ปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมกับผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน (ระยอง สมุทรปราการ ชลบุรี)
4) การตรวจวัดระดับเสียงในจุตที่มีการจราจรหนาแน่นในชุมชนเมืองของภาคตะวันออก
5) การศึกษาติดตามคุณภาพอากาศในพื้นที่ซึ้งมีการร้องเรียน (ระยอง ชลบุรี)
6) การศึกษาสภาพปัญหาการขากแคลนน้ำอุปโภค บริโภคของประชาชนในเขตพื้นที่บริการน้ำประปา
3. สภาพสังคม
1) การศึกษาแนวทางการดำเนินการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของสื่อลามกในเยาวชน
2) สภาพปัจจุบันของสถานบันเทิงและลักษณะสถานบันเทิงที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมในภาคตะวันออก
3) ผลกระทบด้านสุขภาพของเด็กและเยาวชนจากปัญหาการหย่าร้างของบิดามารดา
4) การศึกษาปัจจัยสาเหตุสำคัญของการกระทำผิดกฎหมายของเด็กและเยาวชนในภาตตะวันออก
5) ผลกระทบจากปัญหาที่ดินทำกินต่อภาวะสุขภาพ (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี)
6) ปัจจัยมูลเหตุที่สัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายของวันรุ่นและวันทำงานในภาคตะวันออก
4. ระบบบริการสุขภาพ
1) การพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ และการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการบริการสุขภาพของผู้ใช้บริการศูนย์สุขภาพชุมชน
2) การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาด้านความพร้อมในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการปนะถมภูมิในภาคตะวันออก
3) กาพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อไข้หวัดนก
4) การประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในสิทธิการรักษาพยาบาลในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน
5) การพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ และการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพของผู้ใช้บริการศูนย์สุขภาพชุมชน
6) การพัฒนารูปแบบการบริการฝากครรภ์เพื่อลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ (ปราจีนบุรี ตราด)
7) การสร้างแนวคิดที่เป็นรูปธรรมในการวางแผนระบบกำลังคนด้านสุขภาพ
5) กลไกภาครัฐ/ ประชาชน
1) การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานขององค์กรภาคประชาชนในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน
2) การศึกษาความร่วมมือของร้านค้าในการปฏิบัติตามนโยบายการห้ามขายบุหรีและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
3) การศึกษาผลกระทบต่างๆด้านสุขภาพจากการท่องเที่ยว (กิจกรรมผิดกฎหมาย ยาเสพติด อาชญากรรม)
6) ภูมิปัญญาดานสุขภาพ
1) การจัดการความรู้เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาภูปัญญาด้านสุขภาพในภาคตะวันออก (การแพทย์พื้นบ้าน สมุนไพร นวดแผนไทย)
2) การศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านที่สามารถนำมาประยุคต์ใช้ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยในชุมชน (โรคเอดส์ โรคเรื้อรัง)
3) การแก้ไขปัญหาความเชื่อที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพประชาชนในภาคตะวันออก
อย่างไรก็ดีจากขอมูลในการวิเคราะห์สถานการณ์และความพร้อมของทีมศึกษา ได้สรุปประเด็นวิจัยที่เห็นควรดำเนินการในเบื้องต้น 7 ประเด็นคือ
1. แนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอุบัตติเหตุจากการขับขี่รถจักยานยนต์
2. แนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาความสะอาดของอาหารที่ขายในตลาดนัด
3. การศึกษาแนวทางการดำเนินการแก้ปัญหาการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของสื่อลามกในเยาวชน
4. การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานขององค์กรภาคประชาชนในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน
5. การพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ และการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการบริการสุขภาพของผู้ใช้บริการศูนย์สุขภาพชุมชน
6. การจักการความรู้เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาเพื่อสุขภาพในภาคตะวันออก (การแพทย์พื้นบ้าน สมุนไพร นวดแผนไทย)
7. การศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านที่สามารถนำมาประยุคต์ใช้ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยในชุมชน