Abstract:
การศึกษาสารสกัดหยาบด้วยเอทานอลของกาวไหมและหม่อนนำมาวิเคราะห์กิจกรรมการต้านออกซิเดชันและปริมาณสารฟีนอลิกโดยรวมด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ ABTS (2,2'-azino-bis (3-ethylbenzthiazoline-6-sulphonic)), DPPH (2,2-Diphenyl-1-picrylhdrazyl radical) และferric reducing antioxidant power (FRAP) หาปริมาณฟีนอลิกโดยรวมด้วยวิธี Folin-Ciocalteu หาปริมาณฟลาโวนอยด์โดยรวมโดยใช้วิธี aluminum chloride colorimetric assay การหาปริมาณโปรตีนด้วยวิธี Lowry assay และการหาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสด้วยวิธี Dopachrome โดยมีสารไทโรซีนเป็นสารตั้งต้น ผลการทดลองพบว่า เมื่อวัด กิจกรรมการต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH กาวไหมพันธุ์เหลืองสุรินทร์มีค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง (% inhibition) ที่ต่ำที่สุด (9.257±0.003) หม่อนสายพันธุ์นครราชสีมา 60 สามารถรีดิวซ์ TPRZ-Fe (III) complex ไปเป็น TPRZ-Fe(II) ได้สูงที่สุด (490.518±0.011) และหม่อนพันธุ์นครราชสีมา60 หม่อนพันธุ์สกลนครมีกิจกรรมการกำจัดอนุมูลอิสระ 2,2'-azino-bis (3-ethylbenzthiazoline-6-sulphonic acid (ABTS) ที่ใกล้เคียงกัน (97.725±0.002, 97.880±0.0019 ตามลำดับ) ปริมาณฟีนอลิกโดยรวม สูงที่สุดพบในหม่อนพันธุ์สกลนคร (3574.731µg/ 1 g สารตัวอย่าง) ขณะที่กาวไหมสายพันธุ์นางน้อยศรีษะเกษปริมาณฟีนอลิกต่ำที่สุด (62.871 µg/ 1 g สารตัวอย่าง) ปริมาณฟลาโวนอยด์ โดยรวมพบว่าหม่อนพันธุ์สกลนครมีปริมาณฟลาโวนอยด์โดยรวมสูงที่สุด (51527.37 µg/ 1 g สารตัวอย่าง) การหาปริมาณโปรตีนในสารสกัดหยาบของกาวไหมและหม่อนจะพบว่าในหม่อนพันธุ์สกลนคร จะมีปริมาณโปรตีนที่มากที่สุด (6234.933 µg/g) และในกาวไหมสายพันธุ์ไหมอีรี่ (ไหมป่า) มีโปรตีนน้อยที่สุด (106.333 µg/g) สารสกัดหยาบของกาวไหมมีการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่สูงกว่าในสารสกัดหยาบจากหม่อน จากผลการวิจัยทั้งหมดชี้ให้เห็นว่า หม่อนทั้ง 2 สายพันธุ์จะมีปริมาณฟีนอลิกโดยรวมและปริมาณฟลาโวนอยด์โดยรวมสูง และส่งผลให้มีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ