dc.contributor.author |
เมธินี จามกระโทก |
|
dc.contributor.author |
มะลิวัลย์ คุตะโค |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล |
|
dc.date.accessioned |
2019-04-05T13:21:40Z |
|
dc.date.available |
2019-04-05T13:21:40Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3480 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนาเทคนิคฟลูออร์เรสเซนส์สำหรับวิเคราะห์ปริมาณไขมันในสาหร่ายขนาดเล็กที่ถูกเพาะเลี้ยงขึ้นเพื่อเป็นแหล่งไขมันในการผลิตไบโอดีเชล ศึกษาผลของการเติมสารเคมีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย้อมไขมันในเซลล์ของ Nile red เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ ปริมาณไขมันใน Scenedesmus sp. จากการติดตามพีคที่ 590 นาโนเมตร ซึ่งเป็นพีคเอกลักษณ์ของ Nile red ที่ทำปฏิกิริยากับหยดไขมันในเซลล์ พบว่าเมื่อในทุกสภาวะที่ทำการทดลอง สารเคมี เช่น DMSO MeOH และ H2SO4 ที่ทดสอบไม่ปรากฏการเพิ่มขึ้นของความเข้มฟลูออร์เรสเซนส์ที่ตำแหน่งดังกล่าว แสดงว่าไม่การเกิดปฏิริยาระหว่าง Nile red และหยดไขมันภายในผนังเซลล์ของสาหร่ายสีเขียว นอกจากนี้ในงานวิจัยยังได้ท าการศึกษาหาสภาวะที่ทำให้ความเข้มฟลูออร์เรสเซนส์ที่ 590 นาโนเมตร สูงสุดเพื่อนำมาใช้การวิเคราะห์ปริมาณไขมันโดยวิธีการย้อมด้วยสีย้อม Nile red กับสาหร่ายสีเขียว Chlorella sp. และ ไดอะตอม Nitzschia sp. พบว่าถึงแม้ใช้ที่สภาวะการย้อมที่ทำให้ความเข้มฟลูออร์ เรสเซนส์ที่ 590 นาโนเมตร สูงที่สุดในการวิเคราะห์ปริมาณแบบ External standard และ Standard addition โดยใช้ไขมันที่สกัดจากน้ำมันคาโนลาร์เป็นสารมาตรฐาน ความเข้มฟลูออร์เรสเซนส์ที่ 590 นาโนเมตรกับจำนวนเซลล์ไม่มีความสัมพันธ์เป็นเชิงเส้นตรง ไม่สามารถหาปริมาณไขมันโดยเทียบกับ สารมารตรฐานได้ ในงานวิจัยนี้จึงพัฒนาการวิเคราะห์ปริมาณไขมันด้วยเทคนิคฟลูออร์เรสเซนต์ที่มีการเติม Nile red ในส่วนสกัดไขมัน (extraction method) ที่ได้จากวิธีการสกัดของ Folch (Folch et al., 1956) และ Higgins และคณะ (Higgins B. T. et al., 2014) พบว่าการใช้ส่วนสกัดที่ได้จากเซลล์แห้งและ เซลล์เปียกจะความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงที่ดีมากของความเข้มฟลูออร์เรสเซนส์ที่ 590 นาโนเมตรกับปริมาณ ของเซลล์ ทั้งในการวิเคราะห์ปริมาณแบบ External standard และ standard addition แสดงว่าวิธีการ ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถใช้หาปริมาณไขมันได้ ทำการเปรียบเทียบผลที่ได้จากการวิเคราะห์ไขมันด้วยวิธีที่ พัฒนาขึ้นกับวิธีเกวิเมตริกซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิม พบว่าโดยส่วนใหญ่ปริมาณไขมันในเซลล์แห้งและเซลล์เปียก ของ NitzschiaI sp. และ Chlorella sp. ที่วิเคราะห์จากวิธีที่พัฒนาขึ้นไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับผล ที่ได้จากวิธีแกรวิเมตริก (p > 0.05, ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%) โดยความแตกต่างผลการวิเคราะห์ของวิธี ที่พัฒนาขึ้นกับวิธีเกรวิเมตริกจะพบในกรณีกับเซลล์แห้งของ Chlorella sp. เท่านั้น (p < 0.05, ที่ระดับ ความเชื่อมั่น 95%) ดังนั้น เทคนิคการหาปริมาณไขมันที่พัฒนาขึ้นในงานวิจัยจึงมีความถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็วเพียงพอและเหมาะสมที่จะนำไปวิเคราะห์ปริมาณไขมันในกระบวนการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาด เล็กในการผลิตไบโอดีเชลได้ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
สาหร่าย |
th_TH |
dc.subject |
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
|
dc.title |
การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณไขมันในสาหร่ายโดยใช้เทคนิคสเปกโตรเมทรี |
th_TH |
dc.title.alternative |
Developing of Quantification Method for Lipid in Microalgae using Spectrophotometry Techniques |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
matinee@buu.ac.th |
|
dc.author.email |
maliwan@buu.ac.th |
|
dc.year |
2560 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This research attempt to develop fluorescent technique for the lipid determination in microalgae due to the most attractive source of natural lipid feedstock for biofuel production. The optimum condition for lipid qualification by staining method was explored in Scenedesmus sp.. According the monitoring of lipid-Nile red characteristic peak at 590 nanometer, the result reveal that the chemicals such as DMSO, MeOH and H2SO4 cannot increase the efficiency of Nile red dye penetrating to react with oil droplet in the cell. Moreover, the Nile red optimum condition for Chlorella sp. and Nitzschia sp study was performed using Nile red staining method. According to the fluctuation of fluorescent intensity at 590 nm, there cannot offer linear correlation with the number cells. Therefore, result suggest that the Nile red staining method is an insufficient method for natural lipid quantitation. In order to solve the inefficient of staining, the lipid extraction was carried out using modified method of Folch (Folch et al., 1956) and Higgins (Higgins B. T. et al., 2014). The lipid extracted of dry and wet cell of Chlorella sp. and Nitzschia sp were determined lipid quantity using Nile red as a fluorescent dye. Excellent linearity was established for external standard addition qualification methods. This finding is important to imply that this developed method is suitable for lipid measurement. By the comparison using Pair test at 95% confidence level with gravimetric conventional lipid quantification method, almost results show insignificant different between lipid quantities of developed method and conventional method. In summary, this developed assay could potentially method for natural lipid quantification in microalgae cultivation process in term of high accuracy, high precision and rapid |
en |