DSpace Repository

ศักยภาพชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษาของชุมชนบ้านบางสะเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี.

Show simple item record

dc.contributor.author วศิน ยุวนะเตมีย์ th
dc.contributor.author ธชณัฐ ภัทรสถาพรกุล th
dc.contributor.author สถิตย์ แสนเสนาะ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:28Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:28Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/347
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อถอดบทเรียนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งของชุมชนบ้านบางสระเก้าเพื่อการส่งเสริมและพัฒนารูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมภายในชุมชน กล่าวคือ ชุมชนบ้านบางสระเก้าได้มีแนวคิดริเริ่มสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวในรูปแบบโฮมสเตย์ สร้างเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชนโดยผลักดันและดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยสร้างฐานกิจกรรมการเรียนรู้แยกออกเป็น 6 ฐานการเรียนรู้ดังต่อไปนี้ 1) การฟื้นฟูสัตว์น้ำ "ธนาคารปู" 2) การฟื้นฟูสัตว์น้ำ "บ้านปลา" 3) วิถีชีวิตคนประมงน้ำตื้น 4) สมุนไพรใกล้ตัว 5) ภูิมิปัญญาท้องถิ่นการถนอมอาหาร และ 6) ภูมิปัญญาการทอเสื่อกกบางสระเก้า นอกจากนี้ได้ทำการประเมินตัวชี้วัดความเข้มแข็งในภาพรวมและมิติเฉพาะด้านของชุมชนบ้านบางสระเก้าในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งที่เชื่อมโยงสู่การส่งเสริมและพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยใช้กรอบองค์ประกอบมาตรฐานตัวชี้วัดของดัชนีความเข้มแข็งชุมชนภาพรวมใน 9 มิติ ดังต่อไปนี้ 1) มิติความสามารถในการพึ่งตนเองของชุมชน 2) มิติความมั่นคงปลอดภัยของชุมชน 3) มิติการมีวิสัยทัศน์ของชุมชน 4) มิติความรักและหวงแหนของชุมชน 5) มิติความเข้มแข็งของการผลิต 6) มิติความเข้มแข็งของกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 7) มิติบริบททางกายภาพของชุมชน 8) มิติความรู้เครือข่ายความรู้ของชุมชน และ 9) มิติการมีโลกทัศน์ด้านนิเวศของชุมชน ผลการประเมินความเข้มแข็งของชุมชนตามองค์ประกอบมาตรฐานของกลุ่มตัวชี้วัด โดยเป็นการประเมินร่วมกันระหว่างแกนนำชาวบ้านและกลุ่มนักวิจัยที่ได้เข้าไปสัมผัสชุมชนเป็นระยะเวลาหนุ่ง พบว่าชุมชนบางสระเก้ามีคะแนนรวมเฉลี่ยในการประเมินมิติต่าง ๆ เท่ากับ 4.26 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง นั่นคือ ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ ถือว่าเป็นบทเรียนกรณีศึกษาต้นแบบให้กับชุมชนอื่นได้เป็นอย่างดี th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ภายใต้เครือข่ายการวิจัยภาคกลางตะวันออก ประจำปีงบประมาณ 2551 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี th_TH
dc.subject การท่องเที่ยว th_TH
dc.subject การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ th_TH
dc.subject ทรัพยากรชายฝั่ง th_TH
dc.subject ศักยภาพชุมชน th_TH
dc.subject สาขาสังคมวิทยา th_TH
dc.title ศักยภาพชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษาของชุมชนบ้านบางสะเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. th_TH
dc.title.alternative Community potential in coastal resource management for ecotourism: A case study of Ban Bang sa Kao, Laem Singh, Chanthaburi province en
dc.type Research th_TH
dc.year 2553


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account