DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการพักเพื่อลดความเมื่อยล้าของพนักงานขับรถขนส่งสารเคมีอันตราย จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author นันทพร ภัทรพุทธ th
dc.contributor.author ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข th
dc.contributor.author ปิติ โรจน์วรรณสินธุ์ th
dc.contributor.author วัลลภ ใจดี th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-04-05T08:01:06Z
dc.date.available 2019-04-05T08:01:06Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3478
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและทดสอบรูปแบบการพักในการขับรถขนส่ง สารเคมี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัย เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง ในโรงงานผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว ในจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีเส้นทางการเดินรถระหว่างอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีพนักงานขับรถขนส่งสารเคมีเฉพาะในเส้นทางนี้เป็นตัวอย่างศึกษาทุกคนจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความรู้สึกล้าเชิงจิตพิสัยเครื่องวัดความล้าเชิงวัตถุพิสัย (CFF) ผลการศึกษาคำนวณเวลาเผื่อเพื่อการพักผ่อนตามแนวทางขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ความจำเป็นส่วนบุคคล ความล้าพื้นฐาน ปัจจัยในการทำงาน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมใน การทำงาน พบว่าต้องมีระยะเวลาพักเท่ากับ 24% หรือเท่ากับ 173 นาที ซึ่งหากไม่นับรวมเวลา การโหลดก๊าซซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ก็จะเหลือเวลาที่ต้องหยุดพักอีก 53 นาทีจากนั้นจึงได้นำมาจัดเป็นรูปแบบการขับรถ 3 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 เป็นรูปแบบเดิมที่เป็นอิสระทั้งเส้นทาง จุดพัก และเวลาพัก รูปแบบที่ 2 กำหนดเส้นทางปลอดภัย (ถนนมอเตอร์เวย์หมายเลข 7) และกำหนดจุดพักและเวลาพัก โดยหยุดพักย่อยขาไป 2 ครั้งและขากลับพัก 2 ครั้ง ๆ ละประมาณ 13-15 นาที รูปแบบที่ 3 กำหนดเส้นทางปลอดภัย (ถนนมอเตอร์เวย์หมายเลข 7) และกำหนดจุดพักและเวลาพัก หยุดพักย่อยขาไปพัก 1 ครั้งและขากลับพัก 1 ครั้ง ๆ ละ ประมาณ 25-27 นาที ผลการทดสอบรูปแบบการพัก พบว่า การเดินทางไปกลับในแต่ละเที่ยวมีระยะทางประมาณ 240 กิโลเมตร และมีระยะเวลาที่ใช้ในการทำงานเฉลี่ยต่อวัน 719.31±87.71 (609-947) นาที หรือ ประมาณ 12 ชั่วโมง รูปแบบที่ 1 คนขับมีความล้ามากที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างมีความล้าที่ตรวจวัดด้วยเครื่อง CFF และแบบสอบถามความล้าเชิงจิตพิสัย ร้อยละ 60 และ 20 ตามลำดับ ส่วนรูปแบบที่ 2 และ 3 พบว่ามีความชุกของความล้าเฉพาะที่ตรวจวัดด้วยเครื่อง CFF เท่านั้น ร้อยละ 40 และ 20 (ตามลำดับ) อย่างไรก็ตาม ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Z-test for proportion difference พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยส ำคัญทางสถิติระหว่างค่าความล้าเชิงวัตถุพิสัย (CFF) ในรูปแบบที่ 1, 2 และ 3 ในพนักงานขับรถขนส่งสารเคมี Output / Outcome ได้ค่าเวลาพักสำหรับการขับรถที่มีระยะทางประมาณ 240 กิโลเมตร และมีระยะเวลาการ ทำงานเฉลี่ยต่อวันประมาณ 12 ชั่วโมง เท่ากับ 53 นาทีโดยพบว่ารูปแบบการพักรถแบบที่ 3 มีความล้าน้อยที่สุด ซึ่งกำหนดเส้นทางเดินรถในเส้นทางถนนมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 ต่อด้วยถนนกาญจนาภิเษก มีการหยุดพักย่อยรวม 2 ครั้ง ได้แก่ ขาไปพัก 1 ครั้งและขากลับพัก 1 ครั้ง ที่ศูนย์บริการทางหลวงมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 กิโลเมตรที่ 49 ทั้งขาไปและขากลับ โดยมีเวลาพักแต่ละครั้งประมาณ 25-27 นาที ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยครั้งนี้ 1. รูปแบบการพักที่เหมาะสมกับลักษณะงานของพนักงานขับรถขนส่งสารเคมีคือ รูปแบบที่ 3 เนื่องจากทำให้เกิดความล้าน้อยที่สุด 2. สถานประกอบการควรจัดเตรียมสวัสดิการด้านอาหาร ให้กับพนักงานขับรถที่ขับในเส้นทาง เดินรถดังกล่าว (หรือเส้นทางอื่นที่เป็นทางไกล/ข้ามจังหวัด) เพื่อความสะดวกและปลอดภัย ในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และมาตรการการกำหนดเส้นทางเดินรถและจุดหยุดพักรถที่ ปลอดภัย ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในครั้งต่อไป 1. ควรดำเนินการจัดการความเสี่ยงในการขนส่งสารเคมีอย่างเป็นระบบและ ครอบคลุมทุก เส้นทางเดินรถ เช่น การพัฒนาโมเดลการบริหารความเสี่ยงของความล้าในการขับรถขนส่ง สารเคมีโดยกำหนดปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Success factors) อันประกอบด้วย - ความมุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูง / ระดับอาวุโส - ความร่วมมือของพนักงานระดับปฏิบัติการในการประเมินความเสี่ยง ในการพัฒนา วิธีการทำงานที่ปลอดภัย และในการติดตามตรวจสอบ - เพิ่มความตระหนักด้านความปลอดภัยในผู้จัดการ และพนักงานขับรถ ตลอดจน การปรับเปลี่ยนทัศนคติเพื่อมุ่งสู่การทำงานที่ปลอดภัย - การจัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง 2. ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมที่จะช่วยลดความล้าในระหว่างการพัก เช่น การงีบพัก ในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ การหยุดพักรับประทานอาหาร/อาหารว่าง และ/หรือ การดื่มกาแฟ เป็นต้น th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คนขับรถบรรทุก - - สรีรวิทยา th_TH
dc.subject ความปลอดภัยในท้องถนน th_TH
dc.subject ความล้า - - การป้องกัน th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title การพัฒนารูปแบบการพักเพื่อลดความเมื่อยล้าของพนักงานขับรถขนส่งสารเคมีอันตราย จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative Development of work-rest model for reducing fatigue among hazardous chemical transportation drivers, Chonburi en
dc.type งานวิจัย
dc.author.email nantapor@buu.ac.th th_TH
dc.author.email yingrata@yahoo.com th_TH
dc.author.email piti@buu.ac.th th_TH
dc.author.email wanlopj@buu.ac.th th_TH
dc.year 2560


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account