dc.contributor.author |
ศักดา ดีเดชา |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:23:30Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:23:30Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3447 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนีีมีวัตถุปุระสงค์ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางเชิงนโยบาย และการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดดำเนินการโดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งระดับปฐมภูมิ และทุติยภูมิ และใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed
methodology) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เชิงปริมาณ (Quantitative research) ตามแนวทางการทางการวิจัยแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public participation method) โดยทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อ
พัฒนาดัชนีชี้วัด และสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 30 คน ซึ่งประกอบไปด้วยกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ และกลุ่มผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดทั้ง
ในส่วนกลาง และในระดับพื้นที่ รวมถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ จากนั้นนำ ผลการวิเคราะห์การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ดีในระดับนานาชาติเพื่อนำมากำหนด
ประเด็นสำคัญด้านนโยบาย และแนวทางการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ตามความต้องการของทุกภาคส่วนได้ จากนั้นจัดทำร่างข้อเสนอแนะแนวทางเชิงนโยบาย และการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจแม่สอดเพื่อความสามารถในการ
แข่งขันระดับนานาชาติ เพื่อนำไปรับฟังความคิดเห็น (Public hearing) และวิธีการสำรวจทัศนคติสาธารณ (Public opinion survey) จากกลุ่มผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ และนำข้อมูลจากการรับฟังความ
คิดเห็นและสำรวจทัศนคติสาธารณะไปรวบรวมประกอบการจัดทำข้อเสนอแนะในงานวิจัย ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ มีวัตถุประสงค์เชิงนโยบายต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ
พิเศษแม่สอดในประเด็นที่คล้ายคลึงกัน คือ ต้องการให้เขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นกลไกในการกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาค เชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยกับประเทศเมียนมาร์ ในประเด็นที่ยังมีความเห็นแย้ง คือ ด้านการจัดการที่ดิน และแรงงานอย่าง
เหมาะสมในพื้นที่ ซึ่งมีข้อเสนอของภาคเอกชนบางกลุ่มต้องการให้มีการกำหนดค่าแรงงานขั้นต่ำในพื้นที่สำหรับแรงงานสัญชาติเมียนมาร์ซึ่งต่ำกว่าอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำที่ประเทศไทยกำหนด รวมถึงการนำพื้นที่ป่าไม้และป่าสงวนมากำหนด
เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ในขณะที่ภาคประชาชนและแรงงานไม่เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าว นอกจากนั้นภาคประชาชน และแรงงานยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตในพื้นที่
ข้อเสนอแนะแนวทางเชิงนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดควรเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมประเทศไทยเข้ากับประเทศเมียนมาร์ วางจุดยืนร่วมในการพัฒนากับเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดีโดยอุตสาหกรรมแปรรูปขั้นต้น สำหรับ
สินค้าที่จำเป็นต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดีซึ่งได้เปรียบด้านต้นทุน แต่ยังต้องพึ่งพาการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่มีข้อจำกัดจากประเทศไทย และเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดควรเน้นอุตสาหกรรมแปรรูป
ขั้นกลางหรือแปรรูปขั้นปลายที่มีมูลค่าสูงเพื่อต่อยอดจากวัตถุดิบซึ่งแปรรูปมาจากเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี และส่งเสริมธุรกิจที่รองรับอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ โดยขอบเขตพื้นที่ของเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดควรกำหนดให้
ครอบคลุมทั้งอำเภอโดยกำหนดประเภทธุรกิจเป้าหมายการส่งเสริมแทนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแบบล้อมรั้วมิดชิดซึ่งอาจทำให้การเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการทอ้ งถิน่ และในประเทศคอ่ นข้า งจำกัด และรัฐบาลกลางควรกำหนดการถ่ายโอน
อำนาจการอนุญาต อนุมัติที่เกี่ยวข้องให้กับหน่วยงานในท้องถิ่น และกำหนดให้มีแนวทางการพัฒนาบริการภาครัฐ พัฒนาระดับสาธารณสุข การศึกษา สาธารณูปโภค และสันทนาการต่างๆ ตลอดจนควรมีแผนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และมลภาวะที่ดี |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th |
dc.subject |
การพัฒนาเศรษฐกิจ - - ไทย - - ตาก |
th_TH |
dc.subject |
นโยบายเศรษฐกิจ - - ไทย - - ตาก |
th_TH |
dc.subject |
เขตเศรษฐกิจพิเศษ - - ไทย - - แม่สอด (ตาก) |
th_TH |
dc.title |
แนวทางการพัฒนานโยบายเพื่อความสามารถในการแข่งขัน ของเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด |
th_TH |
dc.title.alternative |
Policy Development for the Competitiveness of Mae Sot Special Economic Zone |
en |
dc.type |
บทความวารสาร |
th_TH |
dc.issue |
2 |
|
dc.volume |
10 |
|
dc.year |
2558 |
|
dc.description.abstractalternative |
The objective of this research is to make the proposed policy and management in Mae Sot Special Economic Zone (SEZ). The researcher has gathered the primary and secondary data. These data are analyzed by mixed methodology, namely qualitative research, quantitative research and public participation method. The researcher has reviewed relevant literatures in order to develop indicators, in-depth interview 30 stakeholders who consist of members in the Policy Committee on Special Economic Zone Development, relevant groups who drive the development in Mae Sot SEZ both in central and local area including the local stakeholders. Then the researcher has analyzed by comparing the data of the stakeholders’ in-depth interview with the international best practices of SEZ development policies. The result of such analysis will be used for determining main topics in policies and management in Mae Sot SEZ that reflect of all sectors’ views. Therefore, the draft of such policies and management will be presented to public hearing and public opinion survey for getting the opinion from the relevant local groups and the local stakeholders. These opinions will be used for preparing to make the suggestions in the research. The research findings: The stakeholders have similar proposed policy in Mae Sot SEZ in term of the SEZ is a mechanism for distributing development to local area and connecting Thailand and Myanmar economy. However they have different opinions such as the management of land and labor: one group focuses that the minimum wage in the SEZ for myanmar labor should be lower than thai labor, as well as to determine wood area and protected forests area should be able to be a part of the SEZ. Another group focuses that the development of SEZ should have no bad impact on local environment and life quality of people in the area. The important proposed policies, as follows: Mae Sot SEZ should
be a center for connecting Thailand with Myanmar. To determine common development stand points with Myawaddy SEZ. Primary essential processing industrial goods for Thailand economic is located in Myawaddy SEZ that has an advantage in cost while the utilities system in Myawaddy SEZ is still depend on Thailand. Mae Sot SEZ should focus on intermediate and final processing industrial goods that have high value in order to further raw material that have been already processed in Myawaddy SEZ and to promote businesses that support international industry and trade. The area of Mae Sot SEZ should cover whole District (Amphoe) and determine the category of main business of SEZ. Using the promotion instead of the enclosed economic development that may create limited connection with local entrepreneurs and thai entrepreneur. Central government should transfer relevant permit authority in SEZ to the local authority. And central government should alsodetermine the development approach of public service, public health, education, public utility, recreation, good environment and pollution plan |
en |
dc.journal |
วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์ = Journal of Graduate School of Commerce Burapha Review. |
|
dc.page |
105-121. |
|