DSpace Repository

กระบวนการบริหารคุณภาพสถานศึกษาจากประสบการณ์การปฏิบัติจริงของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Show simple item record

dc.contributor.author สมโภชน์ อเนกสุข
dc.contributor.author เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
dc.contributor.author สุรัตน์ ไชยชมภู
dc.contributor.author สรรนภา แน่นหนา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:23:29Z
dc.date.available 2019-03-25T09:23:29Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3441
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารคุณภาพสถานศึกษาจากการรับรู้และประสบการณ์การปฏิบัติจริงของบุคลากร ดัชนีบ่งชี้คุณภาพสถานศึกษาจากสภาพความเป็นจริงของสถานศึกษา และเปรียบเทียบกระบวนการบริหารคุณภาพสถานศึกษาจากการรับรู้และประสบการณ์การปฏิบัติจริงของบุคลากรในกลุ่มที่มีคะแนนระดับการบริหารคุณภาพสูงกับกลุ่มที่มีคะแนนระดับการบริหารคุณภาพต่ำการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเชิงอธิบายขยายความกลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาในภาคตะวันออก 8 จังหวัด รวม 160 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ แล้วเลือกสนามศึกษาแบบเจาะจง 2 กลุ่ม รวม 4 โรงเรียน คือ กลุ่มที่มีคะแนนระดับการบริหารคุณภาพสูงกับกลุ่มที่มีคะแนนระดับการบริหารคุณภาพต่ำ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบความสอดคล้องเหมาะสมของรูปแบบด้วยวิธีการวิพากษ์โดยการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า กระบวนการบริหารคุณภาพสถานศึกษาจากประสบการณ์การปฏิบัติจริงของบุคลากร จำแนกตามขนาดของโรงเรียน ค่าเฉลี่ยโดยรวมเกือบทุกขนาดอยู่ในระดับมา ยกเว้นขนาใหญ่พิเศษอยู่ในระดับมาที่สุด จำแนกตามสภาพที่ตั้งของโรงเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุของค่าคะแนนเฉลี่ย จำแนกตามขนาดและสภาพที่ตั้งของโรงเรียน โดยรวม พบว่า ขนาดของโรงเรียนที่ต่างกัน กระบวนการบริหารคุณภาพไม่แตกต่างกัน และสภาพที่ตั้งของโรงเรียนที่ต่างกันกระบวนการบริหารคุณภาพไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาร่วมกัน พบว่า ขนาดของโรงเรียนและสถาพที่ตั้งของโรงเรียน มีอิทธิพลร่วมที่ทำให้กระบวนการบริหารคุณภาพโดยเฉลี่ยแตกต่างกัน ส่วนวิธีเชิงคุณภาพ พบว่า 1. กระบวนการบริหารคุณภาพสถานศึกษาจากการรับรู้และประสบการณ์การปฏิบัติจริงของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน ได้แก่ โรงเรียนมีการกำหนดนโยบาย กำหนดกลยุทธ์ กำหนดมาตรฐานคุณภาพ และติดตามทบทวนแผน 2) การจัดองค์การโรงเรียนจัดโครงสร้างเป็น 4 กลุ่มงาน คือ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณการบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป 3) การอำนวยการ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีการนิเทศงาน กำกับ ติดตามงาน มีการสร้างแรงจูงใจ และมีการสื่อสาร 4) การควบคุมโรงเรียน มีการควบคุมมาตรฐานโดยการสร้างมาตรฐานที่บ่งชี้ถึงคุณภาพทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้เรียน ด้านครู และด้านผู้บริหาร และการประกันคุณภาพการศึกษา 2. ดัชนีบ่งชี้คุณภาพสถานศึกษาจากสภาพความเป็นจริงของสถานศึกษา พบว่า องค์ประกอบและดัชนีคุณภาพสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) ด้านปัจจัย ได้แก่ บริบทของสถานศึกษา ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก 2) ด้านกระบวนการ ได้แก่ การบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และ 3) ด้านการผลิต/ผลลัทธ์ ได้แก่ คุณภาพผู้เรียน 3. ผลการเปรียบเทียบกระบวนการบริหารคุณภาพสถานศึกษาจากการรับรู้และประสบการณ์การปฏิบัติจริงของบุคลากรในสถานศึกษา ในกลุ่มที่มีคะแนนระดับการบริหารคุณภาพสูง กับกลุ่มที่มีคะแนนระดับการบริหารคุณภาพต่ำ พบว่า 1) บริบทของสถานศึกษาแตกต่างกัน 2) ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกแตกต่างกัน 3) การบริหารจัดการ พบว่า ด้านคุณลักษณะของผู้บริหารไม่แตกต่างกัน แต่พฤติกรรมการบริหารแตกต่างกัน 4) การจัดการเรียนรู้ พบว่า ด้านคุณลักษณะของครูและด้านหลักสูตรไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านพฤติกรรมการดรียนของผู้เรียนแตกต่างกัน 5) ด้านผลผลิต/ผลลัทธ์ คุณภาพผู้เรียน พบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ไม่แตกต่างกัน แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th
dc.subject การศึกษาขั้นพื้นฐาน th_TH
dc.subject ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา th_TH
dc.subject ประกันคุณภาพการศึกษา th_TH
dc.title กระบวนการบริหารคุณภาพสถานศึกษาจากประสบการณ์การปฏิบัติจริงของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 2
dc.volume 9
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative This research were based on the Explanatory Mixed Designs. The purpose of the awareness and the practical implementation of Quality Management of Quality Management in the Educational Institutions based on the personnel in the Basis, the process of Quality Management from awareness and experience, the actual carrying out by the personnel, quality indicators of Educational Institutions from actual situations, comparing Quality Management processes of the Educational Institutions from the awareness and actual field experiences of the personnel between the groups that have a high score for Quality Management and the groups that have a low score for Quality Management. The representative samples consisted of Educational Institutions from the 8 provinces in the Eastern Region totaling 160 schools. The Quantitative data were analyzed through frequency distribution by determining the percentage, average, deviation, and analyzing multiple variations. The results are analyzed the purposive sampling for categorized into two groups total 4 schools between the groups that have a high score for Quality Management and the groups that have a low score for Quality Management. Based on in-depth interviews, observation without involvement. The Quantitative data were analyzed through Content Analysis, and having relevance evaluation through discussion group. The results of the research are as follow: In The Quantitative Method, it was discovered that the Quality Management Process from experiences and actual implementation of personnel classifying according to the size, the overall average score is high, except for the extremely large school which had an extremely high score. When classified according to the environment of the schools, the result shown a high average score. Analysis of the variations of the variables according to the average score for Quality Management classifying according to the size and environment of the schools shows that overall, the size did not affect the Quality Management Process. The differing environment also did not affect the Quality Management Process. Through analyzing together, the result that there was an interaction between the sizes with the environment causing the Quality Management Process to be different. In the Quantitative Method. 1) It is dis covered that the awareness and experience resulting from the awareness, and the experience from the actual implementation of the personnel has the 4 following administrative processes:- 1) Planning; the school has specified policy, strategy, quality standard and constantly follow-up and revises the plan. 2) Organizing; the school is organized into 4 working departments comprising of Academic management, Human resource management and General management 3) Directing;; the possess leadership skill, pioneer changes, supervise progress, direct, follow-up, motive others, and communicates well 4) Controlling; the school control the quality through creating standards that indicate the 3 quality aspect, namely students, and directors, and quality educational assurance. From the Quality Educational Institutions based on actual conditions, the result shows that the components and for quality educational institutions comprise of 1) the Context of the educational institutions, the Resources and Facilities, and 2) the Process which involves administrative management, and knowledge management and 3) the Result based on quality educational. The results from comparing the quality management Process of Educational Institutions based on the awareness and actual practical experiences of personnel for the group that has a high score for Quality management and the group that has a low score for Quality management show that 1. The context are different, 2) the Resources and Facilities available are different, 3) Administratively, the process and the administratively structure is not different, but the administratively behavior is different, 4) for Knowledge Management there is no different in the qualification, experiences of the teachers, and the syllabus, but the teaching behavior is different, 5) in the area of Results based on the quality of the learners, the result shows that there is no different in the characteristic based on desire, but the quality of the education and the educational success is different en
dc.journal วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of educational administration Burapha University
dc.page 103-115.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account