Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา และเพื่อสร้างโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1,620 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มาจากกรสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างใช้โปรมาแกกรมสำเร็จรูป SPSS ส่วนการวิเคราะห์แบบจำลองความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรม AMOS
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า ตัวแปรที่ส่งผลทางบวกสูงสุดต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านนักเรียน รองลงมาเป็นอิทธิพลปัจจัยสังคม/ ชุมชน และปัจจัยสื่อ/ เทคโนโลยี ตามลำดับ และร่วมกันทำนายพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา ได้ร้อยละ 54 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้ ปัจจัยด้านนักเรียน ส่งผลทางบวกและทางตรงต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา ปัจจัยด้านเพื่อน ส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะและส่งผลทางอ้อมโดยผ่านปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านครอบครัวส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะแลละส่งผลทางตรงต่อปัจจัยด้านโรงเรียน/ ครู และส่งผลทางอ้อมโดยผ่านปัจจัยด้านเพื่อนและปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านโรงเรียน/ ครู ส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนโดยส่งผ่านปัจจัยด้านเพื่อนและปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านสื่อ/ เทคโนโลยี ส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะและส่งผลทางตรงต่อปัจจัยด้านครอบครัว และส่งผลทางตรงและทางอ้อมโดยผ่าน ปัจจัยยด้านโรงเรียน/ ครู ปัจจัยด้านเพื่อนและปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านสังคม/ ชุมชน ส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะส่งผลทางตรงต่อปัจจัยครอบครัว ส่งผลทางตรงและทางอ้อมโดยผ่าน ปัจจัยด้านโรงเรียน/ ครู ปัจจัยด้านเพื่อนและปัจจัยด้านนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในการวิเคราะห์เศรษฐกิจ ฐานะไม่ดี มีพฤติกรรมจิตสาธารณะมากกว่านักเรียนครอบครัวที่มีสถถานภาพเศษฐกิจ ฐานะดี และได้รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา ที่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับได้