Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสบการณ์ของชุมชนและโรงเรียนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น 2) สังเคราะห์รูปแบบารบริหารเชิงพลวัตโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียนวัดหนองคัน และ 3) ศึกษาความเป็นไได้ของการนำรูปแบบการบริหารเชิงพลวัตโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียนวัดหนองคัน ไปประยุกต์ใช้กับโรงเรียนอื่น ๆ ในจังหวัดจันทบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 24 คน สังเคราะห์เชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ (In-depth Interview) จำนวน 19 คน และการทำประชาพิจารณ์ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา จำนวน 120 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสบการณ์ของชุมชนและโรงเรียนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น คือ การอนุรักษ์วัฒนธรรม การฟื้นฟูวัฒนธรรม การเผยเเพร่วัฒนธรรม การต่อยอดวัฒนธรรม และการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ประกอบด้วย การบริหารงานวิชาการ ได้แก่ การตัดสินใจอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของชุมชน
และภูมิปัญญาท้องถิ่น และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การบริหารงบประมาณ ได้เเก่ การระดมทรัพยากร การจัดสรรงบประมาณและการอนุรักษ์วัฒนธรรมและสร้างรายได้ การบริหารงานส่วนบุคคล ได้เเก่ การให้บุคลากรท้องถิ่นมีส่วนร่วม การตอบสนองความต้องการของชุมชน และการพัฒนาเครือข่ายในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น เเละการบริหารงานทั่วไป ได้เเก่ การให้บริการชุมชน การสร้างความร่วมมือ และการอนุรักษ์คุณค่าวัฒนธรรม 2) รูปแบบการบริหารเชิงพลวัตโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ประกอบด้วย ขั้นตอนการดำเนินการตามสถานการที่เป็นไปได้ คือ สถานการณ์ถดถอยเริ่มต้นที่การสร้างการรับรู้ สถานการณ์ไม่เปลี่ยนแปลงเริ่มต้นทีการกำหนดวิสัยทัศน์ และสถานการณ์ดีเริ่มต้นด้วย การพัฒนาหลักสูตร 3) มีความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารเชิงพลวัตโดยใช้โรงเรียน เป็นฐานในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นไปประยุกต์ใช้กับโรงเรียนอื่น ๆ ในจังหวัดจันทบุรี