Abstract:
การวิจัยเชิงหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหว กลุ่มตัวอย่างได้แก่คนพิการทางการเคลื่อนไหวในอาเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จำนวน 293 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์ภาวะสุขภาพ แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม และแบบสัมภาษณ์ความสามารถในการดูแลตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหว โดยแบบสัมภาษณ์แต่ละชุดมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .96, .85 และ .86 ตามลาดับ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพ และความสามารถในการดูแลตนเองโดยรวมอยู่ในระดับดี (M = 7.33, SD = 1.40 และ M = 4.72, SD = 0.33 ตามลาดับ) และการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.10, SD = 0.33) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าอายุและระดับความพิการมีความสัมพันธ์ทางลบกับความสามารถในการดูแลตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.12, p < .05 และ r = -.13, p < .05 ตามลาดับ) การศึกษา ภาวะสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการดูแลตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .20, p < .01; r = .60, p < .001 และ r = .34, p < .001 ตามลาดับ) ส่วนเพศ รายได้ ระยะเวลาพิการไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหว จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสาธารณสุขควรนาผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากิจกรรมหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการทางการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะการยกระดับภาวะสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมในกลุ่มผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่มีอายุมาก