Abstract:
การศึกษาคุณภาพน้ำทะเลในเขตว่ายน้ำชายหาดบางแสน หาดพัทยา และหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี ในระหว่างเดือน มกราคม ถึง ธันวาคม พบว่าคุณภาพน้ำในแต่ละที่เป็นดังนี้ หาดบางแสน มีค่าอุณหภูมิน้ำ 27.0-32.0 'C ความเค็ม 17.0-36.0 %. ความเป็นกรดเป็นด่าง 7.92-8.36 ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 5.5-8.8 mg/l ค่าบีโอดี 0.4-7.4 mg/l ปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียรวม 13-18,000 MPN/100 ml และปริมาณพีคอลโคลีฟอร์มแบคทีเรีย 8-2,400 MPN/100 ml หาดพัทยา มีค่าอุณหภูมิน้ำ 28.0-32.0 'C ความเค็ม 27.0-35.0 %. ความเป็นกรดเป็นด่าง 7.70-8.45 ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 4.6-12.5 mg/l ค่าบีโอดี 0.3-8.0 mg/l ปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียรวม 21-240,000 MPN/100 ml และปริมาณพีคอลโคลีฟอร์มแบคทีเรีย 2-130,000 MPN/100 ml หาดจอมเทียน มีค่าอุณหภูมิน้ำ 28.0-32.0 'C ความเค็ม 30.0-36.0 %. ความเป็นกรดเป็นด่าง 7.75-8.39 ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 6.1-8.9 mg/l ค่าบีโอดี 0-8.3 mg/l ปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียรวม <2-2,800 MPN/100 ml และปริมาณพีคอลโคลีฟอร์มแบคทีเรีย <2-2,400 MPN/100 ml ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลเพื่อการว่ายน้ำ ซึ่งกำหนดให้มีค่าของปริมาณโคลีฟอร์มแบคทีเรียรวมได้ไม่เกิน 1,000 MPN/100 ml พบว่าคุณภาพน้ำทะเลทั้ง 3 หาดมีสภาพที่เสื่อมโทรมไม่เหมาะแก่การว่ายน้ำเป็นบางพื้นที่และในบางเดือนเท่านั้น ยกเว้นหาดพัทยาโดยเฉพาะพัทยาใต้มีสภาพที่เสื่อมโทรมเกือบตลอดทั้งปี เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพน้ำทะเลเพื่อการว่ายน้ำของทั้ง 3 หาด พบว่าหาดจอมเทียนมีคุณภาพดีที่สุด รองลงมาได้แก้หาดบางแสน ส่วนหาดพัทยามีสภาพเสื่อมโทรมมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าคุณภาพน้ำทะเลทั้ง 3 หาด ในปี 2534 มีสภาพเสื่อมโทรมลงมากขึ้นจากปี 2532 และปี 2533