Abstract:
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการใช้สื่ออารมณ์ขันต่อความกลัวของเด็กวัยเรียนที่ได้รับสารนน้ำทางหลอดเลือดดำ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยเรียนที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ณ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 24 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการใช้สื่ออารมณ์ขัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติของหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินระดับความกลัวโดยภาพการแสดงออกทางใบหน้าและแบบสังเกตพฤติกรรมความกลัว ซึ่งมีค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค ได้ .77 และ .81 ตามลำดับ และวัดอัตราการเต้นของชีพจรด้วยเครื่องวัดอัตราการเต้นของชีพจร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่
ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยผลต่างคะแนนความกลัว
โดยภาพการแสดงออกทางใบหน้า พฤติกรรมความกลัว และอัตราการเต้นของชีพจร ในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ผลการวิจัย ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลที่ดูแล
ผู้ป่วยเด็ก วัยเรียนควรนำโปรแกรมการใช้สื่ออารมณ์ขันนี้ไปใช้เพื่อลดความกลัวให้กับผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ