Abstract:
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม
ส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของผู้ดูแลต่อคุณภาพชีวิตทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิมในจังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลและทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิมอายุ 1-12 เดือน ที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 32 คู่ สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 16 คู่ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติของหน่วยงานที่ติดตามมารดาและทารกหลังคลอด กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับให้โปรแกรมการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม
ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิมโดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง ทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิมในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพ
ชีวิตเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 26.468, p < .001) และคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตภายในกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 23.973, p < .001) ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลที่รับผิดชอบดูแลสุขภาพ
มารดาและทารกสามารถนำโปรแกรมส่งเสริมความสามารถตนเองของผู้ดูแลนี้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ทารกมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น