DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันในครอบครัว เหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ ความฉลาดทางอารมณ์ กับภาวะสุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Show simple item record

dc.contributor.author ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
dc.contributor.author จิณห์จุฑา ชัยเสนา
dc.contributor.author อาภรณ์ ศรีชัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:23:26Z
dc.date.available 2019-03-25T09:23:26Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3408
dc.description.abstract การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันในครอบครัวเหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ ความฉลาดทางอารมณ์ กับภาวะสุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 357 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน 2558 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล(2) แบบสอบถามความผูกพันในครอบครัว (3) แบบสอบถามเหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ (4) แบบสอบถามความฉลาดทางอารมณ์ และ (5) แบบสอบถามภาวะสุขภาพจิต แบบสอบถามแต่ละชุดมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .75,.97, .84 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน(Pearson’s correlation coefficient)ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความผูกพันในครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.57, SD = 0.80)มีการรับรู้เหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบอยู่ในระดับไม่เกิดความยุ่งยากใจ (X = 1.21, SD = 0.86) ความฉลาดทางอารมณ์อยู่เกณฑ์ปกติ (X = 153.36, SD = 16.62) และมีภาวะสุขภาพจิตดี (คะแนน < 4) จำนวน 233 คน คิดเป็นร้อยละ 65.27 (X = 3.79, SD = 3.91) ความผูกพันในครอบครัว และความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับภาวะสุขภาพจติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.55, p < .001 และ r = -0.34, p < .001 ตามลำดับ) เหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับภาวะสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r = 0.20, p < .001) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของวัยรุ่น ผู้บริหารคณาจารย์ ครอบครัวและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่นควรให้ความสำคัญกับความผูกพันในครอบครัว ความฉลาดทางอารมณ์ และคำนึงถึงเหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบที่ส่งผลต่อวัยรุ่น เพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นมีภาวะสุขภาพจิตดี th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject ความสัมพันธ์ในครอบครัว. ความฉลาดทางอารมณ์ th_TH
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย - - สุขภาพจิต th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันในครอบครัว เหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ ความฉลาดทางอารมณ์ กับภาวะสุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย th_TH
dc.title.alternative Relationships between family connectedness, negative life event, emotional quotient and mental health status of high school students en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 4
dc.volume 24
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative The purpose of this descriptive correlationalresearch was to examine the relationshipsbetween family connectedness, negative lifeevents, emotional quotient and mental healthstatus of high school students. There were 357students from public high school of area 28th,Srisaket Province with tenth to twelfth grades,participated in this study. Samples were recruitedby the multistage random sampling technique. Data was obtained during May to September, 2015.Research instruments included questionnairesabout (1) Demographic information (2) FamilyConnectedness (3) The Negative Life EventScale (4) Emotional Quotient (5) Thai GHQ. TheCronbach’s alpha coefficients of thesequestionnaires were .75, .97, 84 and .84,respectively. Data was analyzed using descriptivestatistic and Pearson’s correlation coefficient.Findings were as follows;The family connectedness was at amoderate level (X = 3.57, SD = 0.80); negative lifeevents was at no troublesome level (X = 1.21,SD = 0.86); emotional quotient was at a normallevel (X = 153.36, SD = 16.62) and mental healthstatus was at good level (scale < 4) 233 peoplesrepresenting 65.27 percent (X = 3.57, SD = 3.91), respectively. The family connectedness andemotional quotient had significantly negativecorrelation with negative mental health status(r = -.55, p < .001 and r = .34, p < .001 respectively).Negative life events had significantly positivecorrelation with negative mental health status(r = .20, p < .001). The findings of this studydemonstrated factors related to mental healthstatus of high school students. Importantly, inpromoting mental health of among high schoolstudents, administrators, teachers, family andhealth care providers should concern aboutfamily connectedness, negative life event,emotional quotient in order for promoting mentalhealth among high school students. en
dc.journal วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University
dc.page 65-76.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account