DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลัน ระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียน

Show simple item record

dc.contributor.author ยุนี พงศ์จตุรวิทย์
dc.contributor.author นุจรี ไชยมงคล
dc.contributor.author จุฬาลักษณ์ แก้วสุก
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:23:26Z
dc.date.available 2019-03-25T09:23:26Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3407
dc.description.abstract การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่มีบุตรวัยก่อนเรียน จำนวน 86 รายคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 - มกราคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของมารดาและเด็กวัยก่อนเรียนแบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก การสนับสนุนทางสังคม การได้รับข้อมูลข่าวสาร และพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียน แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80, .87,.93, .84 และ .79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความสามารถตนเองการรับรู้เกี่ยวกับโรค การสนับสนุนทางสังคม และการได้รับข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .727 p < .001, r = .650, p < .001, r = .615, p < .001 และr = .465, p < .001 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลและบุคลากรทีมสุขภาพควรจัดโปรแกรมที่เน้นการเพิ่มการรับรู้ความสามารถตนเอง การรับรู้เกี่ยวกับโรค การสนับสนุนทางสังคม และให้ข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอ เพื่อให้มารดามีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียนที่ดี นำไปสู่การมีสุขภาพดีของเด็กต่อไป th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject ทางเดินหายใจ - - โรค - - การป้องกันและควบคุม th_TH
dc.subject มารดาและเด็ก th_TH
dc.subject โรคติดเชื้อ - - การป้องกันและควบคุม th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลัน ระบบหายใจในเด็กวัยก่อนเรียน th_TH
dc.title.alternative Factors associated with maternal behavior in prevention of acute respiratory infection in preschool children en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 4
dc.volume 24
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative This descriptive correlational researchaimed to examine the factors related to maternalbehavior in prevention of acute respiratoryinfection (ARI) in preschoolers receiving service inchild care centers under responsibility of themunicipality of Chonburi province. Sampleincluded 86 mothers of preschoolers. Multistagerandom sampling was used to recruit the sample.Data were collected from December 2014 toJanuary 2015. Research instruments consisted ofthe demographic record form and questionnairesrelated to the perceptions of ARI, the perceived self-efficacy, the social support, the access toinformation, and the maternal behavior inprevention of ARI for preschooler. The reliabilityof the questionnaires were .80, .87, .93, .84, and.79, respectively. Data were analyzed by usingdescriptive statistics and Pearson’s correlationcoefficient.Results showed that perceived self-efficacy,perception of ARI, social support and access toinformation were significantly positive correlatedwith maternal behavior in prevention of ARI inpreschoolers (r = .727, p < .001, r = .650, p < .001,r = .615, p < .001 and r = .465, p < .001 respectively).The results of study suggest that nurses and healthcare providers should provide the interventionsto increase the perceived self-efficacy, perceptionsof ARI of the mothers, social support, and giveadequately information to effectively enhancematernal behaviors in prevention of ARI amongpreschoolers, lead to the children’s good health en
dc.journal วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University
dc.page 54-64.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account