dc.contributor.author | ปาจารา โพธิหัง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:23:26Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:23:26Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3405 | |
dc.description.abstract | กลุ่มอาการจอภาพคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาสุขภาพทางสายตาที่สำคัญของประเทศไทยที่ไม่ควรละเลยหรือมองข้ามโดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน พยาบาลอาชีวอนามัยจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อช่วยให้กลุ่มวัยทำงานมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นบทความนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มอาการจอภาพคอมพิวเตอร์ในกลุ่มวัยทำงานไทย ผ่านการสืบค้นงานวิจัยปฐมภูมิที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในระยะเวลาที่ผ่านมาทั้งหมด ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากฐานข้อมูลอิเล็คโทรนิคและการสืบค้นด้วยมือ วรรณกรรมที่สืบค้นได้นำมาประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานงานวิจัย และสกัดข้อมูลตามหลักพื้นฐานงานด้านอาชีวอนามัยเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยผลการทบทวนวรรณกรรมพบงานวิจัยทั้งหมด 8 เรื่อง ตีพิมพ์ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2533-2558) ทั้งหมดมีความน่าเชื่อถือของหลักฐานงานวิจัยในระดับ 4 คือ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ศึกษาในผู้ที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในสถานประกอบการที่แตกต่างกัน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินกลุ่มอาการจอภาพคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เป็นแบบสอบถาม โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการจอภาพคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านผู้ประกอบอาชีพ ได้แก่ เพศ อายุ ภาวะสายตา/โรคตา ความเครียด และพฤติกรรมสุขภาพ (การพักสายตา และการนอนหลับ) 2) ปัจจัยด้านสภาพการทำงาน ได้แก่ ระยะเวลาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และลักกษณะงานที่ต้องเพ่งมอง 3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ทำงาน ได้แก่ ลักษณะจอภาพ (การใช้แผ่นกรองแสง ความเข้มกึ่งกลางจอภาพ การเต้นของตัวอักษร และชนิดของจอภาพ) ระยะระหว่างตากับจอภาพ และแสงสว่างที่ทำงาน/ แสงสะท้อน จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้ พยาบาลอาชีวอนามัยและบุคลากรสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลปัจจัยไปเป็นพื้นฐานในการสังเคราะห์กลวิธีในการป้องกันและแก้ไขการเกิดกลุ่มอาการจอภาพคอมพิวเตอร์ได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่การลดผลกระทบจากโรคและเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนวัยทำงานต่อไป | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | ตา - - โรค | th_TH |
dc.subject | ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ | th_TH |
dc.subject | สภาพแวดล้อมการทำงาน | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มอาการจอภาพคอมพิวเตอร์ในกลุ่มวัยทำงานไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ | th_TH |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 4 | |
dc.volume | 24 | |
dc.year | 2559 | |
dc.description.abstractalternative | Computer vision syndrome is a significant visual health problem in Thailand. This problem should not be ignored or overlooked, especially in the working age group. Occupational health nurses must focus on preventing and resolving such issues in order to help them better to quality of life. This systematic review focusing on the factors associated with the computer vision syndrome working group in Thailand. They must constantly research primary published research from the past in both Thai and English language literature. The literature search was to assess the reliability of the research evidence and synthetic procedure database so that occupational health would be consistent with purpose research. Results of the literature review found that eight papers which published during the past 25 years (1990-2015), were credible evidence of research at the fourth level. They were cross sectional descriptive research studies in people who worked with computers in different establishments. The instrument used to estimate the number of computer vision syndromes was by questionnaires. Factors related to computer vision syndrome include 1) Worker factors were sex, age, vision problems, eye disease stress and health behavior (rest eye and sleeplessness) 2) Work condition was period time using computers and job description and 3) Environment factors were display characteristics quality (anti–glare filter, contrast on screen, blink rate and display type) distance between eye and screen, lighting and glaring. The systematic review suggested that occupational health nurses and public health personnel can be used as baseline data for synthetic strategies which prevent symptoms and correct problems, on the spot and effectively. This will lead to a reduction in impact of disease and improve quality of life for those of working age. | en |
dc.journal | วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University. | |
dc.page | 1-14. |