Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย่งของผู้บริหารกับสุขภาพองค์การ ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลและเมืองพัทยา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลและเมืองพัทยาในจังหวัดชลบุรี จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาการบริหารความขัดแย้ง และสุขภาพองค์การ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ คะแนนเฉลี่ย (x ̅) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียรสัน (Pearson Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถอดพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนสังกัดเทศบาลและเมืองพัทยาในจังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน ได้แก่ การเอาชนะ การร่วมมือ การประนีประนอม และการยอมให้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน ได้แก่ การหลีกเลี่ยง
2. สุขภาพองค์การของโรงเรียนสังกัดเทศบาลและเมืองพัทยาในจังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับดี หากพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับดี
3. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งกับสุขภาพองค์การของโรงเรียนสังกัดเทศบาลและเมืองพัทยาในจังหวัดชลบุรี มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4 ด้าน ได้แก่ การร่วมมือ (X2) การประนีประนอม (X3) การหลีกเลี่ยง (X4) และการยอมให้ (X5) มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างไม่
* วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
** นิสิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
มีนัยสำคัญทางสถิติ 1 ด้าน ได้แก่ การเอาชนะ (X1)
4. จากสมการพยากรณ์ที่ดีที่สุด พบว่า ตัวแปรพยากรณ์การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารด้านการยอมให้ (X5) และด้านการร่วมมือ (X2) สามารถพยากรณ์สุขภาพองค์การของโรงเรียนสังกัดเทศบาลและเมืองพัทยาในจังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 49.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแยยมาตรฐาน ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y = .308 X5 + .291 X2 + 1.530
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z = .413 Z5 + .350 Z2