Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนิสิตมหาวิทยาลยั บูรพา จังหวัดชลบุรี จำนวน 453 คน โดยสมุ่ ตัวอย่างแบบเป็นระบบเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 20.84 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 69.30 ภูมิลำเนาเดิมเป็นภาคตะวันออก ร้อยละ 39.50 อยู่กับบิดามารดา ร้อยละ 69.30 บิดามารดาอยู่ร่วมกัน ร้อยละ 79.70 ผู้อุปการะเลี้ยงดูเป็นบิดามารดา ร้อยละ 80.40 รายรับต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 2,000-5,000 บาท (ร้อยละ 43.05) รายจ่ายต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่างระหว่าง 2,000-5,000 บาท (ร้อยละ 51.20 ) อัตราการ สูบบุหรี่ร้อยละ 9.27 เมื่อนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับผู้ที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่พบมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติได้แก่ เพศ พบว่าเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง p=.00 การอยู่ร่วมกับครอบครัวพบว่า การอยู่โดยลำพังสูบบุหรี่มากกว่าอยู่ร่วมกับบิดามารดา p=.03 รายจ่ายพบว่า รายจ่ายมากสูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่รายจ่ายน้อย p=.00 และความรู้พบว่า มีความรู้น้อยสูบบุหรี่มากกว่ามีความรู้มาก p=.01 และ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ พบมากที่สุดคือ อยากทดลองสูบร้อยละ 45.24 รองมาคือ ความเครียดวิตกกังวลร้อยละ 33.33 จำนวนบุหรี่ที่สูบเฉลี่ยต่อวันส่วนใหญ่ 2-5 มวน (ร้อยละ 45.24) ความถี่ในการสูบมากที่สุดคือ สูบทุกวันร้อยละ 45.23 รองมาสูบสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งร้อยละ 19.04 ไม่มียี่ห้อร้อยละ 38.10 ซื้อจากร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 61.90 ร้อยละ 35.71 ค่าใช้จ่ายในการสูบบุหรี่น้อยกว่า 100 บาทต่อเดือน โอกาสในการสูบบุหรี่คือเมื่อไปเที่ยวกลางคืน/ดื่มสุรา ร้อยละ 35.90 สถานที่ที่ท่านมักจะสูบบุหรี่คือ สถานบันเทิง (เธคหรือผับ) ร้อยละ 35.29 ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลของการสูบบุหรี่ พบว่า ร้อยละ 83.33 เห็นว่าการสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และร้อยละ 76.19 เห็นว่าการสูบบุหรี่มีผลเสียต่อคนรอบข้าง