DSpace Repository

รายงานการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดชลบุรี กลุ่มแรงงานข้ามชาติ

Show simple item record

dc.contributor.author นิภา มหารัชพงศ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:27Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:27Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/332
dc.description.abstract บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ปัญหาเอดส์ในแรงงานต่างด้าวไม่ได้เป็นเพียงแต่ปัญหาสุขภาพของแรงงานต่างด้าวเท่านั้น แต่จะมีผลต่อสุขภาพประชาชนไทย และโยงใยไปถึงปัญหาพื้นฐานอื่น ๆ ในสังคมไทย ทั้งปัญหาสังคม เศรญฐกิจ การศึกษา รวมถึงกระทบต่อวัฒนธรรม วิถีชุมชนอีกด้วย จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลกและเป็นเมืองอุตสาหกรรม ทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานทั้งคนไทยและแรงงานต่างด้าวเข้ามาประกอบอาชีพในพื้นที่เป็นจำนวนมาก จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา พ.ศ. 2551 พบอัตราความชุกการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มแรงงานต่างด้าวประมาณร้อยละ 3 และพบการติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นแรงงานต่างด้าวสูงกว่าหญิงไทย 2 เท่า และจากข้อมูลการเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวีและเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มแรงงานต่างด้าว จังหวัดชลบุรี ปี 2551 พบว่าอัตราการติดเชื้อเอชไอวีในแรงงานต่างด้าวที่มาตรวจสุขภาพเป็นร้อยละ 2.54 นอกจากนั้นแล้วอัตรการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งกับกลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับชานอื่น / หญิงอื่นที่ไม่ใช่แฟนหรือคนรัก และการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงค้าบริการทางเพศ ยังคงมีค่าต่ำมากเพียงร้อยละ 5 – 10 เท่านั้น นอกจากปัญหาสาธารณสุขที่กล่าวข้างต้นแล้ว ปัญหาที่พบอีกส่วนหนึ่งคือการย้ายที่อยู่ การเปลี่ยนนายจ้าง และการอพยพกลับประเทศของกลุ่มแรงงานต่างด้าว ทำให้ไม่สามารถติดตามการรักษาได้อย่างครบถ้วน และการควบคุมป้องกัน และแก้ไขดำเนิน การได้ยากมากขึ้น กลวิธีการดำเนินการ กรอบแนวคิดรูปแบบการป้องกันเอดส์ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวทั้งที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียน ควรประกอบไปด้วย 1) การให้ความรู้เกี่ยวกับเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวิธีการป้องกัน 2) อาสาสมัครแกนนำแรงงานต่างด้าว 3) การปรับระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อแรงงานต่างด้าวทั้งจดทะเบียนและไม่จดทะเบียน 4) การผลักดันนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น การพัฒนานสมรรถนะผู้เกี่ยวข้อง การดำเนินการในด้าน 1) การให้ความรู้เกี่ยวกับเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์วิธีการป้องกัน และควรมีการอบรมทักษะการสื่อสารหรือการผลิตสื่อ ที่แรงงานสามารถเข้าใจไดเ ทั้วที่เป็นเอกสารและ ทางสื่อวิทยุ 2) กลวิธีในการรับสมัครกรือแสวงหาอาสาสมัครแกนนำแรงงานต่างด้าว (อสต.) และการยกย่องอาสาสมัครแกนนำ การกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกอาสาสมัครแกนนำแรงงานต่างด้าว การจัดเตรียมหลักสูตรการอบรม จัดให้มีการอบรมทั้งด้านความรู้และทักษะ การให้คำปรึกษาการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ บทบาทของอาสาสมัครแกนนำแรงงานต่างด้าว 3) การพัฒนาทักษะการสื่อสารเบื้องต้น ให้กับผู้ปฏิบัติงาน การใช้ภาษา และการจัดหาล่าม 4) ควรมีการระดมความคิดเห็น เวทีประชาคมในท้องถิ่น ในประเด็นความเกี่ยวโยงระหว่างแรงงานกับชุมชน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และด้านศาธารณสุข การดำเนินงานต่อเนื่อง การสร้างแกนนำอาสาสมัครแกนนำแรงงานต่างด้าวต่อเนื่องเพื่อลดปัญหาการย้ายถิ่น และเชื่อมกับระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อแรงงานต่างด้าว โดยมีสื่อ และล่ามที่เป็นอาสาสมัคร สัมฤทธิ์ผลของโครงการ กลวิธีและรูปแบบของการป้องกันเอดส์ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ข้ามชาติ พบว่า อาสาสมัครแกนนำแรงงานต่างด้าว (Peer educators) ส่วนการดำเนินโครงการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ โดยผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ โดยผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว การปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยและการแจกจ่าย การปรับมุมมองที่มีต่อแรงงานต่างด้าว ในกลุ่มผู้ประกอบการ และการปรับมุมมองของชุมชน ควรมรการประเมินผลการดำเนินการ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ได้แก่ เครื่องมือสำรวจสถานการณ์และพฤติกรรมเสี่ยง และตัวชี้วัดการประเมินผลระดับความรู้ทัศนคติและพฤติกรรม ข้อจำกัด รูปแบบการป้องกันเอดส์ในกลุ่มแรงงานในด้านการให้ความรู้ ไม่สามารถวัดผลสำฤทธิในลักษณะที่เป็นพฤติกรรมและภาวะสุขภาพได้อย่างชัดเจน แต่สามารถประเมินจากระดับความรู้และทัศนคติได้ เนื่องจากแรงงานมีการเคลื่อนย้ายตลอดเวลา 2) แม้ว่าอาสาสมัครแกนนนำแรงงานต่างด้าว เป็นวิธีที่ได้ผลสัมฤทธิ์สูงสุดแต่การค้นหาแรงงานต่างด้าวที่พึงประสงค์ทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากแรงงานต้องมีใบอนุญาตทำงาน มีความรู้ อ่านออก เขียนได้ มีจิตอาสาและมีมนุษยสัมพันธ์ดี เป็นที่ยอมรับของชุมชน มีค่าตอบแทนน้อย ข้อเสนอแนะ 1. แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในจังหวัดชลบุรีทั้งแรงงานที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำ รายได้ต่ำ ประสบปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบ และการดูถูก เหยียดหยาม ดังนั้นการดำเนินโครงการด้านเอดส์ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ควรต้องมีการดำเนินในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานควบคู่ไปด้วย 2. สร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรส่วนท้องถิ่น เจ้าของกิจการ และชุมชน ในการให้ความรู้ การมีอาสาสมัครแรงงาน การผลักดันนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์บริหารส่วนท้องถิ่น รวมถึงการปรับมุมมองและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตามสภาพที่เป็นจริงของแรงงานต่างด้าว ให้แก่ผู้ประกอบการ ชุมชนและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหาร เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวมีความต่อเนื่องและยั่งยืน 3. สร้างแกนนำอาสาสมัครแกนนำแรงงานต่างด้าว ให้เป็นเครือข่ายของศูนย์บรการแรงงานต่างด้าว (Drop – in Center) สำหรับการประสารการเข้าถึงบริการในด้านต่าง ๆ เช่น ถุงยางอนามัย สื่อ รวมถึงให้คำปรึกษา และความช่วยเหลือกลุ่มแรงงานต่างด้าวครอบครัว และกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 4. การปรับระบบบรการสุขภาพที่เอื้อต่อ แรงงานต่างด้าวทั้งจดทะเบียนและไม่จดทะเบียน โดยกระตุ้นให้มีกองทุนที่เกิดจากการร่วมทุนของนายจ้าง และตัวแทนนายหน้าจัดหาแรงงานที่นำแรงงานเข้ามาในประเทศและพัฒนาระบบบริการคลินิกกามโรคและโรคติมต่อทางเพศสัมพันธ์ ในพื้นที่ที่มีแรงงานต่างด้าวอยู่เป็นจำนวนมาก มีการจัดบริการปรึกษาและตรวจเลือดเอชไอวีโดยความสมัครใจ (Voluntary counseling and testing VCT) โดยมีสื่อ และล่ามที่เป็นอาสาสมัคร th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณพัฒนาจังหวัดชลบุรี ประจำปี พ.ศ. 2552 ภายใต้โครงการพัฒนากลไกบริหารจัดการด้านการควบคุมและป้องกันปัญหาเอดส์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject โรคเอดส์ - - ไทย - - ชลบุรี - - วิจัย th_TH
dc.subject แรงงานต่างด้าว th_TH
dc.subject โรคเอดส์ - - การป้องกันและควบคุม - - ไทย - - ชลบุรี th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title รายงานการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดชลบุรี กลุ่มแรงงานข้ามชาติ th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2553


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account