dc.contributor.author |
ธร สุนทรายุทธ |
|
dc.contributor.author |
ไพรัตน์ วงษ์นาม |
|
dc.contributor.author |
ชลกร ตันประภัสร์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:23:18Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:23:18Z |
|
dc.date.issued |
2556 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3298 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสร้างสรรค์และนวัตกรรมของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยคัดสรร และเปรียบเทียบสมการทำนายปัจจัยที่ส่งผลต่อความสร้างสรรค์และนวัตกรรมของโรงเรียนเอกชน ระหว่างกลุ่มโรงเรียนที่ได้รับรางวัลดีเด่นด้านความสร้างสรรค์และนวัตกรรมและกลุ่มโรงเรียนทั่วไป กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 307 โรงเรียน โดยเก็บข้อมูลจากครูในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างรวม 1,112 คน ได้มาโดยการสุ่มแบ่งกลุ่มแบบเจาะจงและการสุ่มอย่างง่าย ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ของผู้บริหาร แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหาร ภาวะผู้นำของผู้บริหาร บรรยากาศสภาพแวดล้อมของงาน และวัฒนธรรมการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามของตัวแปรแฝงทั้ง 5 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ในการหาค่าสถิติพื้นฐานและใช้โปรแกรม LISREL 8.72 ในการตรวจสอบองค์ประกอบ และสร้างสมการทำนายเปรียบเทียบผลการวิจัยปรากฏว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปรแฝงทุกตัวมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสร้างสรรค์และนวัตกรรมของ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของกลุ่มโรงเรียนทั่วไปคือ ความคิดสร้างสรรค์ของผู้บริหาร ภาวะผู้นำของผู้บริหารบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของงาน และวัฒนธรรมการเรียนรู้ โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 77 ส่วนกลุ่มโรงเรียนที่มีผลงานดีเด่นด้านความสร้างสรรค์และนวัตกรรม ให้ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร และ บรรยากาศสภาพแวดล้อมของงาน ส่งผลต่อความสร้างสรรค์และนวัตกรรมของโรงเรียนในทางบวก โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 80 โดยสมการที่เหมาะสม ที่สุดมีค่า x2 เท่ากับ 1.424 ที่ df เท่ากับ 3 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.00 แต่ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารนั้นส่งผลในทางตรงกันข้ามในกลุ่มโรงเรียนทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ และไม่ได้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มโรงเรียนที่มีผลงานดีเด่นด้านความสร้างสรรค์และนวัตกรรม |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.subject |
ผู้บริหารโรงเรียน |
th_TH |
dc.subject |
ภาวะผู้นำ |
th_TH |
dc.subject |
สภาพแวดล้อมการทำงาน |
th_TH |
dc.subject |
โรงเรียนเอกชน - - การบริหาร |
th_TH |
dc.subject |
สาขาการศึกษา |
th_TH |
dc.title |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสร้างสรรค์และนวัตกรรมของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
th_TH |
dc.title.alternative |
Factors effecting to creativity and innovation of private schools in basic education level |
en |
dc.type |
บทความวารสาร |
th_TH |
dc.issue |
2 |
|
dc.volume |
7 |
|
dc.year |
2556 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this research were to study creativity and innovation of private schools in basic education level and factors effecting to the schools’ creativity and innovation. Also the comparison between multiple regression models of general schools and creative and innovative schools was studied. The sample used to study was derived by means of purposive random sampling of creative and innovative schools and basic random sampling of general schools, and consisted of 307 private schools and 1,112 teachers. There were five latent variables namely, Creativity of Administrator, Achievement Motive of Administrator, Leadership of Administrator, Climate and Environment of Work, and Learning Culture. The research instrument was a questionnaire on the five latent variables. Data were analyzed by descriptive statistics, using SPSS and LISREL 8.72 was used for confirmatory factors analysis and comparison of multiple regression models between two groups of schools.
The results of the research found that confirmatory factors analysis was consistent with empirical data for all the latent variables. The most fit multiple regression model was found to be: x2 = 1.424, df = 3, RMSEA = 0.00. The variables in multiple regression model accounted for 77 percent of the variance in the creativity and innovation of the general private schools group and 80 percent of variance in the most performance creativity and innovation of the private schools group that were recognized as creative and innovative. However, achievement motive of administrator factor was affected significantly to creativity and innovation of the general private school in opposite direction and was affected insignificantly for the creative and innovative schools. |
en |
dc.journal |
วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of educational administration Burapha University |
|
dc.page |
42-55. |
|