Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาบริบทชุมชน และความเป็นมาการทอผ้าไหมพื้นบ้าน ศึกษากระบวนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูลวดลายผ้าไหมพื้นบ้านดั้งเดิม และพัฒนาลวดลายผ้าไหมพื้นบ้านที่ยังคงเอกลักษณ์ ชุมชนชาวไทยกูยอีสานใต้ ในพื้นที่ 3 จังหวัดของอีสานใต้ ได้แก่ ชุมชนหมู่บ้านอาลึ จังหวัดสุรินทร์ ชุมชนหมู่บ้านดงกระทิง จังหวัดบุรีรัมย์ และชุมชนหมู่บ้านตาโกน จังหวัดศรีสะเกษ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การระดมสมอง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปฏิบัติการพัฒนากระบวนการอนุรักษ์ลวดลายผ้าไหมบ้านของชาวไทยกูย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1.ชุมชนชาวไทยกูยอีสานใต้ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงแอ่งโคราช ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีความอุดมสมบูรณ์ มีวัฒนธรรมที่สร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนยึดมั่นในวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตามสภาพสังคมระบบทุนนิยม มีประเพณีและวัฒนธรรมสืบทอดต่อกันมา มีการทอผ้าไหม เมื่อว่างจากการทำนา โดยการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้าเป็นอาชีพเสริม
2.กระบวนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูลวดลายผ้าไหมพื้นบ้านดั้งเดิม ของชุมชนชาวกูยในอีสารใต้ ดำเนินการโดย การวางแผนการปฏิบัติ การมีส่วนร่วมในการวางแผนการทำงานและมีผู้รับผิดชอบ โดยมีขั้นตอนเตรียมการขั้นตอนการประชุมวางแผนการปฏิบัติการฟื้นฟูภูมิปัญญาการทอผ้าไหม ขั้นตอนการมอบหมายผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมเกิดการปฏิบัติฟื้นฟูลวดลายผ้าไหมดั้งเดิมที่สูญหายโดยการทอขึ้นมาใหม่จากภูมิรู้ของผู้อวุโส มีจำนวน 6 ลาย
3.ผลจาการพัฒนาลวดลายผ้าไหมพื้นบ้านที่ยังคงเอกลักษณ์ ได้ลายผ้าไหมจำนวน 16 ลาย คือ ประยุกต์ผลมผสานจากลวดลายดั้งเดิม จำนวน 8 ลาย และการประยุกต์วิถีชีวิตของชาวไทยกูยผสมผสานลวดลายดั้งเดิมเป็นลายใหม่ จำนวน 8 ลาย จากการปฏิบัติการพัฒนาลายผ้า พบรูปแบบการถ่ายทอดสืบทอดความรู้และการเรียนรู้ 3 ลักษณะ คือ 1) กระบวนการถ่ายทอดความรู้ในครอบครัว 2) การถ่ายทอดและสืบทอดจากคนภายนอกครอบครัว 3) การเรียนรู้ด้วยตัวเอง