DSpace Repository

เปรียบเทียบผลการมองเห็นและภาวะแทรกซ้อนหลังทำผ่าตัดต้อกระจกโดยเครื่องสลายต้อกระจกระหว่างผู้ป่วยเบาหวานและไม่เป็นเบาหวานของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author ลักษณาพร กรุงไกรเพชร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:26Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:26Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/325
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ การศึกษาเปรียบเทียบผลการมองเห็นและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจกโดยเครื่องสลาย ต้อกระจกระหว่างผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลินและไม่เป็นเบาหวาน วิธีดําเนินการวิจัย ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ยินยอมเข้าร่วมการวิจัย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดต้อกระจกโดย เครื่องสลายต้อกระจก ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา จํานวน 100 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินที่ไม่มีโรคทางตาที่มีผลต่อการมองเห็น จํานวน 50 ราย และกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวานและไม่มีโรคทางตาที่มีผลต่อการมองเห็น จํานวน 50 ราย เบื้องต้น ผลงานวิจัยศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ทุนศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ 2547-2549 2 รวบรวมข้อมูลทั่วไปจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย และติดตามบันทึกผลการมองเห็นหลัง และข้อมูล ภาวะแทรกซ้อนภายหลังจากได้รับการผ่าตัดโดยแพทย์คนเดียวกัน วิธีการเตรียมผู้ป่วย การดูแลภายหลัง การผ่าตัดแบบเดียวกัน เป็นระยะเวลา 1 ปี ผลการวิจัย ผู้ป่วยที่มาผ่าตัดต้อกระจกส่วนใหญ่เป็นเพศชายแต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ อายุผู้ป่วย ที่มาผ่าตัดพบมากช่วงอายุ 60-69 ปี อายุเฉลี่ยผู้ป่วยในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานเท่ากับ 65.3 ปี และกลุ่มที่ ไม่เป็นเบาหวานเท่ากับ 65.6ปีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ระดับน้ําตาลในเลือดเฉลี่ย ในกลุ่มเบาหวาน เท่ากับ 122.0 มก.% และ กลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวานเท่ากับ 105.4 มก.% ผลการมองเห็นเพิ่มขึ้นมากกว่า หรือเท่ากับ 2 แถว หลังผ่าตัด 1 ปีพบว่ากลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและกลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวานมีการมองเห็น เพิ่มขึ้น≥ 2 แถว คิดเป็นร้อยละ 96.0 เท่ากันทั้ง 2 กลุ่ม ผลการมองเห็น≥ 20/40 หลังผ่าตัด 1 ปีพบว่า กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมีระดับการมองเห็นหลัง ผ่าตัดตั้งแต่ 20/40 คิดเป็นร้อยละ 72.0 และกลุ่มที่ไม่เป็น เบาหวานมีระดับการมองเห็นหลังผ่าตัดตั้งแต่ 20/40 คิดเป็นร้อยละ 80.0 พบว่าไม่มีแตกต่างกันทางสถิติ ภาวะแทรกซ้อนกลุ่มเบาหวานมีจอรับภาพบวม(ร้อยละ 16.0) ถุงหุ้มเลนส์ฉีกขาด(ร้อยละ 2.0) ถุงหุ้มเลนส์ขุ่น (ร้อยละ 2.0) การติดเชื้อในลูกตา (ร้อยละ 2.0) ต้อหินชนิดมุมเปิด (ร้อยละ 2.0) ส่วนกลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวานที่พบคือจอรับภาพบวม(ร้อยละ 8.0) ม่านตาอักเสบ (ร้อยละ 4.0) ถุงหุ้มเลนส์ ฉีกขาด(ร้อยละ 4.0) ถุงหุ้มเลนส์ขุ่น (ร้อยละ 2.0) กระจกตาบวม (ร้อยละ 2.0) และการศึกษาภาวะ เบาหวานขึ้นจอประสาทตา พบว่าเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเพิ่มขึ้นหลังผ่าตัด (ร้อยละ 8.0) เมื่อทดสอบ ความแตกต่างของสัดส่วนด้วยค่าไคสแคว์พบว่าไม่มีแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสําคัญ.05 จึงกล่าวได้ว่าการผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลินและผู้ป่วยไม่เป็น เบาหวานของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมี โอกาสเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตาชนิดไม่รุนแรงมากขึ้นร้อยละ 8 และมีโอกาสที่มีจุดรับภาพบวมเป็น 2 เท่าของกลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวาน แต่ผลการมองเห็นหลังผ่าตัดไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ 1. ภาวะแทรกซ้อนที่พบในการผ่าตัดชนิดใช้เครื่องสลายต้อกระจกในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและไม่ เป็นเบาหวาน คือ จอรับภาพบวม ถุงหุ้มเลนส์ฉีกขาด ถุงหุ้มเลนส์ขุ่น การติดเชื้อในลูกตาและ ต้อหิน ชนิดมุมเปิด ดังนั้นเมื่อมีการผ่าตัดควรให้การดูแลเป็นพิเศษ ดังนี้ 1.1 กรณีจอรับภาพบวม มีโอกาสเกิดขึ้นได้สําหรับคนที่เป็นเบาหวาน แต่มีมากขึ้นได้ ถ้ามีการฉีกขาดของถุงหุ้มเลนส์ขณะผ่าตัด ผู้ผ่าตัดต้องระวังไม่ให้เกิดขึ้น 1.2 กรณีถุงหุ้มเลนส์ขาด อาจเกิดจากผู้ผ่าตัดไม่ระมัดระวังหรือผู้ป่วยไม่ร่วมมือ โดยมีการกลอกตาขณะผ่าตัดทําให้การผ่าตัดทําได้ลําบาก เกิดถุงหุ้มเลนส์ขาดได้ง่ายเนื่องจากถุงหุ้มเลนส์ บางและใสมาก ดังนั้นผู้ผ่าตัดต้องระวังให้มากและผู้ป่วยต้องให้ความร่วมมือขณะผ่าตัด เพราะถ้าเกิดถุง หุ้มเลนส์ขาดแล้วมีโอกาสติดเชื้อในลูกตาหรือใส่เลนส์เทียมไม่ได้ 1.3 กรณีถุงหุ้มเลนส์ขุ่น มีโอกาสเกิดได้อยู่แล้ว แต่ถ้าไม่อยากให้มีโอกาสเกิดมาก ขึ้น ขณะทําผ่าตัดต้องฉีกถุงเลนส์ให้ได้ขนาดพอดีและไม่เหลือเศษเลนส์ค้างอยู่ 1.4 กรณีติดเชื้อในลูกตา เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง สามารถทําให้ตาบอดได้ ปัจจัยที่ ทําให้เกิดมีทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ผ่าตัด โดยก่อนผ่าตัดต้องแน่ใจว่าไม่มีส่วนใดของตาที่จะทําให้ติดเชื้อได้ เป็น ผลงานวิจัยศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ทุนศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ 2547-2549 3 ต้นว่า เปลือกตา เยื่อบุตาและท่อน้ําตาต้องไม่มีการอักเสบ และแพทย์ผู้ผ่าตัดต้องระวังไม่ให้มีถุงหุ้มเลนส์ ขาดขณะผ่าตัด การดูแลและแก้ไขต้องให้ทันท่วงทีผู้ป่วยจะได้ไม่เสียตาข้างนี้ไป 1.5 กรณีต้อหินชนิดมุมเปิด สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยเบาหวาน ควรระวังในการให้ยา หลังผ่าตัดที่มีสเตียรอยด์เป็นส่วนผสม ควรตรวจความดันลูกตาเป็นระยะ 2. งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง (Retrospective) อาจเกิดกลุ่มควบคุมได้ไม่สมบูรณ์ งานวิจัยครั้งต่อไปควรเป็นการวิจัยแบบไปข้างหน้า(Prospective) และควบคุมระดับน้ําตาลในเลือด โดยใช้ระดับน้ําตาลเฉลี่ยในเลือด (HbA1C) 3. ควรทําการศึกษาถึงผลของความแตกต่างในระดับเบาหวานขึ้นจอประสาทตาที่นอกจาก NPDR หรืออาจศึกษาภาวะจอประสาทตาบวมหลังผ่าตัดต้อกระจกให้ละเอียดยิ่งขึ้น การนําไปใช้ประโยชน์ 1.ใช้เป็นข้อมูลในการให้คําแนะนํา ปรึกษาต่อผู้ป่วยก่อนตัดสินใจผ่าตัดต้อกระจก 2. จัดทํา Procedure สําหรับจักษุแพทย์และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการลดความเสี่ยง ที่อาจเกิดกับผู้ป่วย th_TH
dc.description.sponsorship ผลงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทอุดหนุนทั่วไป งบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2550 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ตา - - ศัลยกรรม th_TH
dc.subject ตา - - โรค th_TH
dc.subject ต้อกระจก - - ภาวะแทรกซ้อน - - วิจัย th_TH
dc.subject ต้อกระจก - - ศัลยกรรม - - วิจัย th_TH
dc.title เปรียบเทียบผลการมองเห็นและภาวะแทรกซ้อนหลังทำผ่าตัดต้อกระจกโดยเครื่องสลายต้อกระจกระหว่างผู้ป่วยเบาหวานและไม่เป็นเบาหวานของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative Comparison of visual acuity outcome and complication after Phacoemulsification between diabetic and non-diabetic patient at Burapha University hospital en
dc.type Research
dc.year 2550
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to compare of visual acuity outcome and complication after Phacoemulsification between diabetic and non-diabetic patients at Burapha University Hospital, One hundred cataract patients with Phacoemulsification were enrolled in the study; 50 patients were Diabetic (type II) group and 50 patients were Non-diabetic group. The patients were surgery by one doctor, same pre-operative care, and operative (phacoemulsification) and post-operative care. Assessed visual acuity and complication at 1 year. Results: There were no significant differences in demographic data between the two groups. No significant in visual outcome improve> 2 lines and VA > 20/40 1 year after surgery. The complication rate in diabetic group had CME 16%, rupture PC 2%, PCO 2%; POAG 2% and 2% endophthalmitis. The non-diabetic group had CME 8%, rupture PC 4%, uveitis 4% and 2% corneal edema. Conclusions: Comparison of visual acuity outcome and complication after Phacoemulsification between diabetic and non-diabetic patients had no statistical significant between 2 groups. CME was most common complication in both groups. In diabetic group 16% and 8% in non-diabetic group. Retinopathy progression was seen 8% but visual acuity outcome was no statistical significant difference. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account