DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจเพื่อพัฒนาสมรรถนะการทำบัญชีของนักบัญชี

Show simple item record

dc.contributor.author พงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.author สมศักดิ์ ลิลา
dc.contributor.author สมรัชนาฏ ฦาชา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:21:26Z
dc.date.available 2019-03-25T09:21:26Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3239
dc.description.abstract งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อและศึกษาผลการดำเนินงานพัฒนาและศึกษาผลการดำเนินงานของรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำบัญชีของนักบัญชี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักบัญชีที่ปฏิบัติงานด้านบัญชีในจังหวัดสมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง ปี พ.ศ. 2557 จำนวน 596 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาสมรรถนะการทำบัญชีของนักบัญชี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดระยอง จำนวน 300 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two- Stage Random Sampling Technique) โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แล้วนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factory Analysis; CFA) ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปการเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำบัญชีของนักบัญชี โดยการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และทำการศึกษานำร่องกับนักบัญชีที่ปฏบัติงานอยู่ในจังหวัดชลบุรี อำเภอบางละมุง จำนวน 15 คน ระยะที่ 3 ศึกษาผลการดำเนินงานตามรูปแบบการเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำบัญชีของนักบัญชี กับนักบัญชีที่ปฏิบัติงานด้านบัญชีในจังหวัดชลบุรี จาก 2บริษัท จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงจากความสมัครใจที่จะเข้าร่วมการพัฒนาของนักบัญชีและผู้บริหารองค์กร ดำเนินการวิจัยเชิงทดลองแบบแผนกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental design) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบประเมินสมรรถนะด้านบัญชีของนักบัญชี และการเสริมพลังอำนาจในการทำงาน และนำมาเปรียบเทียบคะแนนสมรรถนะด้านบัญชีและการเสริมพลังอำนาจในการทำงานในตนเอง โดยใช้สถิติทดสอบที (t-test dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนารูปการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อพัฒนาสมรรถนะการทำบัญชี ของนักบัญชี ผู้ทรงคุณวุฒิและนักบัญชีมีความเห็นว่า รูปแบบมีคุณภาพตามมาตรฐานการประเมินในด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการดำเนินงานตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) นักบัญชีผู้เข้าอบรมมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะด้านบัญชีหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) นักบัญชีผู้เข้าอบรมมีคะแนนความสามารถในการเสริมพลังอำนาจการทำงานในตนเองหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject การบัญชี th_TH
dc.subject นักบัญชี th_TH
dc.subject สมรรถนะ th_TH
dc.subject สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH
dc.title การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจเพื่อพัฒนาสมรรถนะการทำบัญชีของนักบัญชี th_TH
dc.title.alternative Development of empowerment model to improve accounting competency of accountant en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 3
dc.volume 26
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative This study was a mixed method research. The purposes of this study were to develop and study the performance of the empowerment model result of accounting competency of the accountant. The populations were 596 accountants in Samut Prakan, Chonburi and Rayong Province in the year B.E. 2557. The study was divided into three phrases; 1) Studying the accounting competency from samples that were 300 accountants in Samut Prakan and Rayong Province, which selected by two-stage random sampling teachique. 5-Rating scales questionnaire developed by researcher and confirmatory factory analysis; CFA were used for data collecting and analyzing respectively. 2) Creating and developing the empowerment model of accounting competency of the accountant. The appropriation examining from 15 expertsand pilot study with accountants in Amphur Banglamung Chonburi Province were used for this phrase. 3) Studying the performance of the empowerment model result of accounting competency of the accountant from 30 accountants in two companies, selected by purposive sampling as voluntary. Quasi-experimental designs were used to develop the accountants and the executive of the organization. Research tool was the accountant and empowerment competency evaluation form. T-test dependent was used to compare the score of accouting and empowerment competency. The results revealed that: from the experts and accountants' opinion, the empowerment model for developing the accounting competency of the accountantis useful, possibility, infallibility, and suitable in the high level. The result form the developed model found that: 1) After training, the accountants had got score of accounting competency higher than before training at the statistically significant level .01 and 2) After training, the accountants had got score of empowerment competency higher than before training at the statistically significant level .01. en
dc.journal วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of education, Burapha University.
dc.page 166-177.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account