DSpace Repository

รูปแบบการให้บริการการคลอดธรรมชาติ ณ โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา

Show simple item record

dc.contributor.author วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์ th
dc.contributor.author รัชนีวรรณ รอส th
dc.contributor.author มีนะ สพสมัย th
dc.contributor.author ประทวน สำเภาแก้ว th
dc.contributor.author พูลศรี กสิโอฬาร th
dc.contributor.author สมพิศ ดุษดี th
dc.contributor.author สรัลพร ศรีวัฒน์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:43Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:43Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/31
dc.description.abstract รูปแบบการคลอดธรรมชาติมีเป็นจำนวนมากในสังคมวัฒนธรรมตะวันตก แต่พบน้อยในวัฒนธรรมตะวันออก การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการคลอดะรรมชาติโดยผสมผสานจิตประภัสสร ซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับพุทธศาสนา มีความหมายว่า สภาวะจิตที่รู้ตื่น และเบิกบาน ปราศจากความขุ่นมัว ไม่จมอยู่ในอารมณ์ใด ๆ โดยนำแนวคิดนี้เป็นแนวทางเข้าไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลตลอดการคลอดธรรมชาติ กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ จิตประภัสสร ซึ่งเป็นความเชื่อทางศาสนาพุทธของแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต (1987) และกรวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Kemmis & Mc Taggart (1990) เป็นแนวทางในการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นหญิงตั้งครรภ์และสามีจำนวน 16 คู่ รวมทั้งพยาบาลแผนกสูติกรรมของโรงพยาบาลในประเทศไทย วิธีดำเนินการวิจัย โดยได้รับความร่วมมือจากพยาบาลแผนกสูติกรรมของโรงพยาบาลในประเทศไทย จำนวน 5 ท่านตกลงเข้าร่วมโครงการวิจัย จากนั้นคณะผู้วิจัยได้จัดอบรมการคลอดะรรมชาติโดยใช้จิตประภัสสร ซึ่งเป็นความเชื่อทางศาสนาพุทธฝึกสมาธิให้เกิดความสงบ ซึ่งพยาบาลผู้ร่วมวิจัยจะเป็นคนคัดเลือกหญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 และสามีจำนวน 16 คู่ เข้าโครงการวิจัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างต้องเข้ารับการอบรมเพื่อเตรียมตัวคลอดะรรมชาติ จำนวน 3 ครั้ง ซึ่งจะได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยจิตประภัสสรระหว่างการคลอดธรรมชาติ หญิงตั้งครรภ์และสามีจะได้รับความรู้ในการผ่อนคลายด้วยกลิ่นหอมระเหย การสวดมนต์ การประคบด้วยสมุนไพรและจิตประภัสสร ตลอดจนฝึกการหายใจ และใช้ลูกบอล ในระยะคลอดสามีจะนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการช่วยเหลือภรรยา สองวันหลังคลอดทั้งคู่สามีภรรยาจะให้สัมภาษณ์เจาะลึกถึงประสบการณ์ที่ได้รับจากการคลอดธรรมชาติ ผลการวิจัยพบว่า หญิงตั้งครรภ์และสามีจำนวน 16 คู่ มีความพึงพอใจในการให้บริการการคลอดธรรมชาติโดยจิตประภัสร อยู่ในเกณฑ์ดีมาก และสัมพันธภาพในคู่สมรสอยู่ในเกณฑ์ดีมากเช่นกัน รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ยืนยันว่าจิตประภัสสรช่วยให้รู้สึกจิตใจสงบในระหว่างการคลอดและความผูกพันระหว่างมารดาและทารกดีมาก นอกจากนี้พยาบาลผู้ร่วมวิจัย 5 ท่าน ยังมีความพึงพอใจอย่างมากต่อผลของการให้บริการคลอดธรรมชาติด้วยจิตประภัสสร สรุป จิตประภัสสรซึ่งเป็นรูปแบบในการฝึกสมาธิทางศาสนาพุทธ จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมการดูแลในระหว่างการคลอดธรรมชาติในดรงพยาบาลอื่น ๆ ในประเทศไทยได้ด้วย Natural childbirth models areabundant in western cultures, but not many are found in eastern cultures. This present study aimed to develop a model for natural childbirth that incorporates Jitprapatsorn-- a Buddhist concept meanning "clean, clear mind meditation" -- into nursing practices surrounding natural childbirth. Framework: Jitprapatsorn, a Buddhist belief (Machee Sansanee, 1987) and Kemmis & Mc Taggart (1990) action research framework were used to guide the study. Subjects: Sixteen pregnant women and their spouses and five prenatal/ OB RNs at a hospital in Thailand. Methods: Prenatal and OB nurses (n=5) who worked at a Thai hospital agreed to participate in the study. They were trained by PI on natural childbirth services using Jitprapatson-- a Buddhist belief and practice which is meant to lead to a calm mind. The RNs then recruited 16 second-trimester pregnant women (with spouses) who subsequently attended 3 training sessions on empowerment using Jitprapatsorn during childbirth. The couples learned how to use aroma therapy, prayer, herbal message, and Jitprapatsorn, along with standard service (e.g., breathing techniques, birth ball use). During labor and delivery, the couples applied the methods learned from the training. Two days after normal delivery, the couples were interviewed in-depth (in focus groups) about their experiences. Results: All 16 couples stated that they were strongly satisfied with their natural childbirth experiences: and that their spousal relationships were strengthened by Jitprapatsorn. The pregnant women asserted that Jitprapatsorn helped them to feel peaceful during labor. Also, the participants felt that the bond between mother and baby was stronger due to Jitprapatsorn. Finally, all five RNs stated that they were very satisfied with the results of their nursing care because of Jitpratsorn. Conclusions: Jitprapatsorn-- a Buddhist form of meditation--should be encouraged during natural childbirth labor and delivery in other hospitals in Thailand. th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณแผ่นดินปี 2550-2551 en
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การคลอด th_TH
dc.subject การทำคลอด th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title รูปแบบการให้บริการการคลอดธรรมชาติ ณ โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา th_TH
dc.title.alternative Model for Natural Childbirth Services at Chacheongsao Hospital en
dc.type Research th_TH
dc.year 2552


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account