Abstract:
ทำการเก็บรวบรวมและสำรวจชนิดของสาหร่ายทะเลที่เกยตื้น 2 แหล่ง คือ หลังสถาบันวิจัยอาหารสัตว์น้ำชายฝั่ง ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา และชายหาดวอนนภาถึงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ถึง กุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 7 ครั้ง พบสาหร่ายทะเล 3 กลุ่ม คือสาหร่ายสีน้ำตาล (brown algae) มี 4 สกุล คือ สาหร่ายเห็ดหูหนู (Padina sp.),สาหร่ายทุ่น (Sagussum sp.), สาหร่ายเฟิร์นเขากวาง (Dictyota sp.), สาหร่ายฝอย (Hypnea sp.) สาหร่ายสีแดง (red algae) มี 3 สกุล 4 ชนิด คือ สาหร่ายวุ้น (gracilaria fisherii), (G. changii), สาหร่ายหนาม (Acanthophora spicifer และ Luarencia sp. และสาหร่ายสีเขียว (Green algae) มี 1 สกุล คือ สาหร่ายไส้ไก่ (Enteromorpha sp.)
พบคุณค่าทางโภชนาการของสาหร่ายเฟิร์นเขากวาง (Dictyta sp.) และสาหร่ายหนาม (A. specifera) มีปริมาณโปรตีนเท่ากับ 18.9 และ 7.95% ไขมัน 9.15 และ 2.02 % ตามลำดับ
โดยใช้เป็นส่วนผสมอาหารเลี้ยงเพรียงทรายประกอบด้วยอาหาร 3 สูตร สูตรที่ 1 สูตรอาหารกุ้งทั่วไป, สูตรที่ 2 สูตรสาหร่าย Dictyota sp. สูตรที่ 3 สูตรผสมสาหร่าย A. specifera ซึ่งประกอบด้วยปริมาณโปรตีน ร้อยละ 38.44, 38.2 และ 38.9 และปริมาณไขมันร้อยละ 8.10,9.7 และ 5.9 ตามลำดับ หลังการเพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 3 เดือน Nereis sp. มีอัตราการรอดร้อยละ 41.6, 58.3 และ 41.6 ตามลำดับ